วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปบทเรียน 2 /ก.ค /56

สรุปบทเรียน 2 /ก.ค /56

สิ่งมีชีวิต  คือ  สิ่งที่สามารถใช้สสารและพลังงานจากสิ่งแวดล้อมเพื่อให้กระบวนการภายในดำเนินไปและดำรงอยู่ได้ และเมื่อดำรงอยู่ได้แล้วจะมีกระบวนให้ดำรงอยู่ต่อไปโดยการสร้างสมาชิกที่เหมือนเดิมขึ้นหรือการสืบพันธ์

 สิ่งมีชีวิตมีสมบัติทางกายภาพและชีวภาพดังนี้

1.1   สิ่งมีชีวิตมีการสืบพันธุ์ 

      การสืบพันธุ์  หมายถึง  การเพิ่มจำนวนลูกหลานที่มีลักษณะเหมือนเดิมของสิ่งมีชีวิต  โดยสิ่งมีชีวิตรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นนี้จะทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ล้มหายตายจากไป  ทำให้สิ่งมีชีวิตเหลือรอดอยู่ในโลกได้  โดยไม่สูญพันธุ์ไป  การสืบพันธุ์มี  2  วิธี  คือ
0001.   การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ( asexual reproduction )
0002.   การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ  ( sexual  reproduction )
1.2   สิ่งมีชีวิตต้องการสารอาหารและพลังงาน 
     สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการสารอาหารและพลังงาน  เพื่อใช้ในกิจกรรมต่าง ๆของตัวสิ่งมีชีวิตเอง  กิจกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตจะต้องประกอบด้วยกระบวนการ  เมแทบอลิซึม  ( metabolism  )  กระบวนการเมแทบอลิซึมเป็นกระบวนการทางเคมีที่เกิดขึ้นภายในเซลล์  หรือภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต  กระบวนการนี้แบ่งได้เป็น  2  กระบวนการย่อย  คือ
0001.   แคแทบอลิซึม  ( catabolism )  หรือกระบวนการสลาย
0002.   แอแนบอลิซึม ( anabolism ) หรือกระบวนการสร้าง
1.3   สิ่งมีชีวิตมีการเจริญเติบโต  มีอายุขัยและขนาดจำกัด
การเจริญเติบโตจะประกอบด้วยกระบวนการต่าง ๆ  4  กระบวนการคือ
 0001.   การเพิ่มจำนวนเซลล์  (Cell  Multiplication)
000 2.   การเติบโต  (Growth)
000 3.   การเปลี่ยนแปลงของเซลล์เพื่อไปทำหน้าที่ต่าง ๆ  (Cell  differentiation)
000 4.   การเกิดรูปร่างที่แน่นอน  (Morphogenesis)

การจัดลำดับหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต

เริ่มจัดเป็นกลุ่มใหญ่ก่อน  แล้วจึงแบ่งแยกออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ  อีกหลายระดับ  กลุ่มใหญ่สุดของสิ่งมีชีวิต คือ อาณาจักร(Kingdom)  กลุ่มย่อยรองลงมาสำหรับพืชเรียก ดิวิชัน (Division)  สำหรับสัตว์เรียกไฟลัม (Phylum)  ในดิวิชันหรือไฟลัมหนึ่ง ๆ  แยกออกเป็นคลาส หลายคลาส (Class)  หรือชั้น ในแต่ละคลาสแยกออกเป็นหลายออร์เดอร์ (Order) หรืออันดับแต่ละ ออร์เดอร์แยกออกเป็นหลายแฟมิลี (Family) หรือวงศ์  ในแต่ละแฟมิลียังแยกออกเป็นจีนัส (Genus) หรือสกุล  แต่ละจีนัสแบ่งย่อยออกเป็นหลายสปีชีส์ (species) หรือชนิด
              อาณาจักร (Kingdom)
                            ดิวิชัน (Division) หรือ ไฟลัม (Phylum)
                                        คลาสหรือชั้น (Class)
                                             แฟมิลี่หรือวงศ์ (Family)
                                                 จีนัสหรือสกุล (Genus)
                                                      สปีชีส์หรือชนิด (species)

ในระหว่างกลุ่ม  อาจมีกลุ่มย่อยอีก  เช่น Sub  Kingdom,Sub  division เป็นต้น  พืชแต่ละชนิด อาจมีลักษณะต่างกันเล็กน้อย เรียกว่า พันธุ์    สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในสปีชีส์ เดียวกันต้องมีความสัมพันธ์ ใกล้ชิดกันทางบรรพบุรุษสามารถสืบพันธุ์กันได้ ลูกที่ได้จะต้องไม่เป็นหมัน มีโครงสร้างหน้าที่เหมือนกัน




 ชื่อวิทยาศาสตร์(SCIENTIFIC NAME) 
        เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ใช้เป็นหลักสากลเดียวกัน การเขียนหรือพิมพ์ชื่อวิทยาศาสตร์ ต้องให้แตกต่างจากข้อความทั่วไป โดยอาจพิมพ์ด้วยตัวเอง หรือ ขีดเส้นใต้ทั้งสองคำแยกจากกันคำนำหน้าเป็นชื่อจีนัส ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ คำหลังขึ้นต้นด้วยอักษรตัวเล็กเป็นชื่อเฉพาะ ซึ่งอาจแสดงรูปพรรณสัญฐาน หรือที่มาเช่น Homo sapiens หรือ Taenia solium เป็นต้น

การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต
       เรียงลำดับจากกลุ่มใหญ่ไปยังกลุ่มย่อยคือ
       สปีชีส์ หมายถึง หน่วยย่อยที่สุดในการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกัน จะมีโครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ เหมือนกันมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันทางบรรพบุรุษ และ ที่สำคัญที่สุด คือ สามารถผสมพันธุ์กันได้ และลูกที่ได้จะต้องไม่เป็นหมัน

อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต
       วิทเทเคอร์ (R.H. WHITAKER) จำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็น 5 อาณาจักร คือ อาณาจักรสัตว์ อาณาจักรพืช อาณาฟังไจ อาณาจักรโปรติสตา และ อาณาจักรโมเนอรา

อาณาจักรสัตว์ (KINGDOM ANIMALIA) 
       สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ไม่มีคลอโรฟิลล์จึงไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง และมีระยะตัวอ่อน (EMBRYO) สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์แบ่งออกเป็นไฟลัมต่างๆดังนี้
1.     ไฟลัมพอริเฟอรา(PHYLUM PORIFERA)
สัตว์ที่ลำตัวเป็นรูพรุน ได้แก่ ฟองน้ำ
    
2.     ไฟลัมซีเลนเทอราตา(PHYLUM COELENTERATA)
สัตว์ที่มีลำตัวกลวง ระบบประสาทเป็นแบบร่างแหประสาท(NERVE NET) ได้แก่ แมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล ปะการัง กัลปังหา และไฮดรา
   
3.     ไฟลัมแพลทิเฮลมินทิส(PHYLUM PLATYHELMINTHES)
หนอนตัวแบนเป็นสัตว์กลุ่มแรกที่มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ได้แก่ พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด และพลานาเรีย
    
4.     ไฟลัมนีมาโทดา(PHYLUM NEMATODA)
หนอนตัวกลม ไม่มีปล้อง เคลื่อนที่ด้วยการเอี้ยวตัวสลับกันไปมา ได้แก่ พยาธิตัวกลมต่างๆ เช่น พยาธิไส้เดือน ไส้เดือนฝอย และหนอนในน้ำส้มสายชู
    
5.     ไฟลัมแอนนิลิดา (PHYLUM ANNILIDA)
หนอนปล้องเป็นพวกแรกที่มีระบบเลือดแบบปิด ขับถ่ายโดยเนฟริเดียม (NEPRIDIUM) ได้แก่ ไส้เดือนดิน แม่เพรียง หากดูดเลือด และปลิงน้ำจืด
6.     ไฟลัมอาร์โทรโปดา (PHYLUM ARTHROPODA)
สัตว์ที่มีขาและรยางค์อื่นๆ ต่อกันเป็นข้อๆ เป็นสัตว์กลุ่มใหญ่ที่สุดในอาณาจักรสัตว์ ได้แก่ กุ้ง กั้ง ปู แมลง เห็บ ไร ตะขาบ กิ้งกือ แมงมุม แมงดาทะเล
    
7.     ไฟลัมมอลลัสกา(PHYLUM MOLLUSCA)
สัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม ได้แก่ หมึกและหอยชนิดต่างๆ
    
8.     ไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา (PHYLUM ECHINODERMATA)
สัตว์ที่ผิวหนังมีหนามขุรขระ ได้แก่ ดาวทะเล เม่นทะเล เหรียญทะเล ปลิงทะเล ดาวเปราะ
   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น