วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สรุปบทเรียน 25/มิ.ย. 56

   เซลล์ (Cell) คือ หน่วยเล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต

การเคลื่อนที่ของสารผ่านเซลล์

เซลล์จะดำรงชีวิตอยู่ได้จะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบและออร์แกแนลล์ต่างๆและขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
1.การลำเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ มี 2 แบบคือ
1.1 การลำเลียงสารแบบไม่ใช้พลังงาน (passive transport)
       1.1.1 การแพร่ (diffusion)
เป็นการเคลื่อนที่ของโมเลกุลจากจุดที่มีความเข้มข้นสูงกว่าไปยังจุดที่มีความเข้มข้นต่ำกว่า การเคลื่อนที่ลักษณะไปทุกทิศทุกทาง โดยไม่มีทิศทางแน่นอน ตัวอย่างของการแพร่ที่พบได้เสมอคือ
              -  การแพร่ของเกลือในน้ำ
             - การแพร่น้ำหอมในอากาศ
                         1.1.2 ออสโมซิส (osmosis)
เป็นการแพร่ของเหลวหรือการแพร่ของน้ำผ่านเยื่อเลือกผ่านโดยน้ำจะแพร่จากบริเวณที่มีความหนาแน่นของน้ำมาก ไปยังบริเวณที่มีความหนาแน่นของน้ำน้อยกว่า
1.1.3 การแพร่แบบฟาซิลิเทต (Facillitated Diffusion)
                        เป็นการเคลื่อนที่ของโมเลกุลของสารจากที่ที่มีความเข้มข้นสูง
ไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำโดยอาศัยโปรตีนตัวนำ
1.2    การลำเลียงแบบใช้พลังงาน (Active transport)
2. การลำเลียงสารโดยไม่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์
2.1 เอกโซไทโทซิส (Exocytosis)
                        เป็นการลำเลียงสารขนาดใหญ่ออกจากเซลล์ สารที่จะถูกส่งไปนอกเซลล์บรรจุอยู่ในเวสสิคิล
2.2 เอนโดไซโทซิส (Endocytosis)
                        เป็นการลำเลียงสารขนาดใหญ่เข้าสู่เซลล์ โดยเอนโดไซโทซิส
ในสิ่งมีชีวิตมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามกลไกการลำเลียง คือ
1. ฟาโกไซโทซิส (Phagocytosis)
                        2. พิโนไซโทซิส (Pinocytosis)
                        3. การนำสารเข้าสู่เซลล์โดยอาศัยตัวรับ (Receptor)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น