วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ทำไมหัวไม้ขีดถึงติดไฟ

ทำไมหัวไม้ขีดถึงติดไฟ

          หัวไม้ขีดที่ใช้จุดไฟจะเคลือบด้วยโปแตสเซียมคลอเรต เมื่อขีดกับกลัดด้านที่เคลือบฟอสฟอรัสจะทำให้เกิดประกายไฟลุกไหม้ขึ้น เมื่อ โปแตสเซียมคลอเรตได้รับความร้อนก็จะสลายออกซิเจนออกมาช่วยเผาไหม้ซึ่งเป็นคุณสมบัติของออกซิเจนจึงทำให้ไม้ขีดมีเสียงดังฟู่ เนื่องจากมีความร้อนและออกซิเจนพอที่จะจุดไฟติดจึงเกิดไฟลุกติดขึ้นมา ส่วนก้านไม้ขีดที่ทำจากไม้เนื้ออ่อนจะผ่านการแช่น้ำมันสน ผสมพาราฟิน ทำให้หัวไม้ขีดลุกไหม้มาที่ก้านง่ายขึ้นและนานกว่า 

ที่มา http://www.geocities.com/dopagroup/knowscience2.htm  

20 เรื่องวิทยาศาสตร์น่ารู้

20 เรื่องวิทยาศาสตร์น่ารู้

1. เส้นเลือดในร่างกายมนุษย์มีความยาวรวม 62,000 ไมล์ ถ้านำมันมาเรียงต่อกันเป็นทางยาวจะได้ความยาว ถึง 2.5 เท่าของเส้นรอบวงโลก

2. The Great Barrier Reef (แนวปะการังที่ยาวทีสุดในโลกบริเวณออสเตรเลีย) เป็นโครงสร้างสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีความยาวกว่า 2000 กิโลเมตร

3. โอกาสที่โลกจะถูกโจมตีด้วยอุกาบาตขนาดใหญ่ อยู่ที่ 9300 ปีต่อครั้ง

4. ดาวนิวตรอนขนาดเท่าหัวแม่มือมีน้ำหนักกว่า 100 ล้านตัน

5. พายุเฮอริเคนหนึ่งลูกผลิตพลังงานเท่ากับระเบิดขนาด 1 เมกะตันจำนวน 8000 ลูก

6. คาดว่ามีพยาธิปากขอ ซื่งดูดเลือดเป็นอาหารอยู่ในร่างกายมนุษย์โลกเรา 700 ล้านคน

7. Fred Rompelberg คือผู้ขี่จักรยานด้วยความเร็วที่สุดในโลกด้วยความเร็ว 166.94 ไมล์ต่อชั่วโมง

8. มนุษย์เราสามารถคิดค้นแสงเลเซอร์ที่มีความสว่างกว่าแสงอาทิตย์ 1 ล้านเท่า

9. 65% ของผู้ป่วยออทิสติคส์ เป็นคนถนัดซ้าย

10. Finnish pine tree (ต้นสนชนิดหนึ่งในฟินแลนด์) มีความยาวของรากแต่ละต้นรวมแล้วกว่า 30 ไมล์

11. จำนวนเกลือที่อยู่ในน้ำทะเลทั่วโลกเรา สามารถปกคลุมพื้นผิวทวีปทั่วโลกได้หนากว่า 500 ฟุต

12. กลุ่มแก๊สระหว่างหมู่ดาวในราศีธนู มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์นับหมื่นล้านล้านลิตร

13. หมีขั้วโลกสามารถวิ่งด้วยความเร็ว 25 ไมล์ต่อชัวโมง และกระโดดได้สูงกว่า 6 ฟุต

14. มนุษย์และปลาโลมาสืบสายพันธ์เดียวกันมาตั้งแต่ 60 - 65 ล้านปีก่อน

15. กล้อง infared จับภาพหมีขั้วโลกได้ยากมาก เนื่องจากคุณสมบัติของขนของมัน

16. เฉลี่ยแล้วในหนึ่งปี คนเราจะกินสัตว์จำพวกเห็บลิ้นไร โดยไม่ได้ตั้งใจไป 430 ตัวต่อคนต่อปี

17. รากของต้น Rye(ข้าวชนิดหนึ่งใช้หมักสุรา) สามารถแผ่ขยายไปได้ถึง 400 ไมล์

18. อุณหภูมิบนพื้นผิวของดาวพุธสูงกว่า 430 องศาเซลเซียสในเวลากลางวัน แต่ลดลงต่ำกว่า ติดลบ 180 องศาเซลเซียสในเวลากลางคืน

19. ภายใน 24 ชั่วโมง ต้นโอ๊กขนาดใหญ่ขับน้ำ(ในรูปของไอน้ำ)ออกมา 10 - 25 แกลลอน

20. ผีเสื้อรับรู้รสด้วยขาหลังของมัน โดยประสาทการรับรู้ทำงานโดยการสัมผัส ทำให้มันรู้ว่าใบไม้และดอกไม้ที่มันสัมผัส มีรสชาติอย่างไรและกินได้หรือไม่




แหล่งอ้างอิง: http://www.pooyingnaka.com/story/story.php?Category=forwordmail&No=1719

นาซา พบดาวเคราะห์ใหม่ เหมือนโลกมากที่สุด เชื่อมีมนุษย์ต่างดาวอยู่



นาซา พบดาวเคราะห์ใหม่ เหมือนโลกมากที่สุด เชื่อมีมนุษย์ต่างดาวอยู่

นาซาพบดาวเคราะห์ "กลิส 581 จี" สภาพแวดล้อมเหมือนโลก "มากที่สุด" ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า ดวงจันทร์ "ไตตัน" ของดาวเสาร์ มีสภาพเหมาะสม อาจมีมนุษย์ต่างดาวอาศัยอยู่... 

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานเมื่อ 26 พ.ย. ว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์จากองค์การการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) ค้นพบดาวเคราะห์ดวงล่าสุด ชื่อว่า "กลิส 581 จี" มีสภาพแวดล้อมเหมือนโลก "มากที่สุด" เท่าที่เคยค้นพบมาก่อนหน้านี้

ทั้งนี้ กลิส 581 จี อยู่ห่างออกไปราว 123 แส้นล้านไมล์ พบในกลุ่มดาวตราชั่ง ขนาดใหญ่กว่าโลก 3-4 เท่า ใช้เวลาโคจรเป็นเวลา 37 วัน นอกจากนี้ยังอาจมีของเหลว หรือแหล่งน้ำอยู่บนพื้นผิวด้วย การค้นพบครั้งล่าสุดนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้สังเกตการณ์ดาวเคราะห์ดวงดังกล่าวมาร่วม 11 ปีแล้ว และได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารแอสโตรฟิสิคอลด้วย

ขณะที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ยังคงเชื่อว่า "ไตตัน" ดวงจันทร์ของดาวเสาร์ มีสภาพเหมาะสม อาจเอื้อให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้ และอาจมีมนุษย์ต่างดาวอาศัยอยู่.

ขอขอบคุณข้อมูล จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

โลกร้อน คืออะไร ?


         ถึงเวลาที่ต้องหันมามองโลกอย่างใส่ใจ ให้ความสำคัญกับ "สภาวะโลกร้อน" ประเด็นร้อนแรงของวันนี้ ที่มิใช่เพียง"ป้องกัน" แต่กับสภวาะการณ์ที่เกิดขึ้น ต้องเรียกว่า "รับมือ" กับสิ่งที่มนุษย์ได้ทำร้ายโลกลงไป

ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก ครับ (Greenhouse gases) ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศกรองพลังงานจากดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของเรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ครับ
8170


ภาพจาก Global Warming Exhibition of National Academy of Science (US)

แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรม รถยนตร์ หรือการกระทำใดๆที่เผาเชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่นถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปี

ซึ่งคาร์บอนไดออกไซด์ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ เป็นตัวการกักเก็บความร้อนจากแสงอาทิตย์ไว้ไม่ให้คายออกไปสู่บรรยากาศ
ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้โลกของเรามีอุนหภูมิอบอุ่น สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้แต่ปัจจุบัน การเผาผลาญเชื้อเพลงฟอสซิลต่างๆ เช่น ถ่านหิน น้ำมันเชื้อเพลิง และการตัดไม้ทำลายป่า
ซึ่งการกระทำเหล่านี้ส่งผลให้ปริมาณ คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล อันส่งผลกระทบต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภัยธรรมชาติต่างๆเกิดบ่อยขึ้น และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นครับ
8171


- จำนวนพายุ Hurricane Category 4 และ 5 เพิ่มขึ้นสองเท่า ในสามสิบปีที่ผ่านมา
- เชื้อมาลาเรียได้แพร่กระจายไปในที่สูงขึ้น แม้แต่ใน Columbian, Andes ที่สูง 7000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล
- น้ำแข็ง ใน ธารน้ำแข็ง เขตกรีนแลนด์ ละลายเพิ่มมากขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
- สัตว์ต่างๆ อย่างน้อย 279 สปีชี่ส์กำลังตอบสนองต่อ ภาวะโลกร้อน โดยพยายามย้ายถิ่นที่อยู่
8172


หากเรายังเพิกเฉยต่อสิ่งที่เกิดขึ้น รับรองได้เลยว่าจะเกิดเรื่องอย่างนี้แน่

- อัตรา ผู้เสียชีวิต จาก โลกร้อน จะพุ่งไปอยู่ที่ 300000 คนต่อปี ใน 25 ปีต่อจากนี้
- ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 20 ฟุต
- คลื่นความร้อน จะมาบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้น
- ภาวะฝนแล้ง และไฟป่าจะเกิดบ่อยขึ้น
- มหาสมุทรอาร์กติกจะไม่เหลือน้ำแข็ง ภายในฤดูร้อน 2050
- สิ่งมีชีวิตกว่าล้านสปีชี่ส์เสี่ยงที่จะสูญพันธุ์
ค้ดลอกจาก http://www.vcharkarn.com/varticle/18345

ข่าวและปํญหาการศึกษาไทย ที่น่าสนใจ


"ต้องรื้อระบบการผลิตครู"


      สังเกตว่างานปฏิรูปการศึกษาไทยในทศวรรษที่ 2 ในยุคที่มี จาตุรนต์ ฉายแสง ถูกจับวางเป็นเสนาบดีการศึกษา ซึ่งมาพร้อมกับ ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์ อดีตผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้มาอยู่ในตำแหน่งผู้ช่วยเสนาบดี และมี เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รับบทช่วยว่าการฯ เริ่มพูดไปในทิศทางเดียวกัน


เห็นได้จากทุกงานจะมีสูตรสำเร็จในการบรรยายหรือนโยบาย ที่เสนาบดีมอบหมายอธิบายความเพื่อให้หน่วยงาน 5 แท่ง ของ ศธ. ต้องร่วมกันขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะคุณภาพมาตรฐานทางการศึกษาไทยวันนี้ ซึ่งเป็นเรื่องท้าทาย ต้องทำอย่างทุ่มเทแบบไม่มีวันหยุด


จังหวะที่จะเรียกพลังความร่วมมือเพื่อยกคุณภาพการศึกษาไทยได้ คงไม่มีอะไรดีไปกว่า จี้ไปที่ตัวเลขการจัดอันดับการศึกษาไทยในเวทีนานาชาติ และการประเมินผลที่หน่วยงานในประเทศ ออกมาตีแผ่ผสมโรง


แค่นี้ก็ยากที่จะสรรหาคำแก้ต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่กำลังตกเป็นจำเลยใหญ่น่าจะพุ่งเป้าไปที่สถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นโรงงานใหญ่ในการผลิตครู ตามด้วยครูและบุคลากรทางการศึกษา ถือเป็นความสำคัญอันดับต้นๆ ที่ต้องถูกผ่าตัด


จับหางเสียงจากผู้ช่วยเสนาบดีการศึกษา ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ขึ้นบรรยายในงาน 121 ปี การสถาปนาการฝึกหัดครูไทย หัวข้อ อนาคตของการผลิตครูเพื่อเป็นพลังแห่งการพัฒนาชาติ ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สดๆ ร้อนๆ 29 กันยายน นี้เอง


ปัจจุบันเรามีตัวเลขครูที่จะเกษียณอายุใน 15 ปีข้างหน้า ประมาณ 2.8 แสนคน และมีตัวเลขผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพครูอยู่แล้ว 1 ล้านคน ในจำนวนนี้ประกอบวิชาชีพครู 6 แสนคน


ขณะที่ในแต่ละปีฝ่ายผลิตจะมีผลผลิตครูออกมาเพิ่มเฉลี่ยปีละ 5 หมื่นกว่าคน ซึ่งมีความต้องการใช้ครูแทนอัตราเกษียณเต็มที่ ไม่เกินปีละ 2 หมื่นคน แต่ปรากฏว่าบางสถาบันรับนักศึกษาครู 5,600 คน ถามว่าจะเอาคุณภาพมาจากไหน ถึงกับกราบขอร้องให้เลิกรับในลักษณะนี้ เมื่อขอแล้วไม่ฟังเหตุผล สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น คือ จะต้องรื้อระบบการผลิตครูใหม่ทั้งหมดและจะมีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในสายครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ให้สังคมได้รับรู้ถึงคุณภาพความน่าเชื่อถือ


เพราะในชีวิตเกิดมาไม่เคยเห็นผู้บริหารการศึกษาคนใด ในโลก รับคนเข้ามาเรียนเพื่อตกงาน


ที่มา ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 0
4 ตุลาคม พ.ศ. 2556



ความล้มเหลวของการศึกษากับปัญหานานัปการ


ในอดีตเมื่อครั้งกึ่งพุทธกาลหรือปี พ.ศ. 2500 นั้น   การศึกษาไทยเป็นที่ยอมรับของประเทศที่เจริญแล้วในซีกโลกตะวันตก เพราะมีคุณภาพและมีมาตรฐานการศึกษาสูง ไม่ว่าจะเป็นวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษหรือวิชาอื่นๆ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8  (เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปัจจุบัน) สามารถทำงานกับองค์กรระหว่างประเทศหรือบริษัทธุรกิจข้ามชาติขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี  อีกทั้งผู้ที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 แล้วเมื่อไปศึกษาต่อยังต่างประเทศก็มีผลการเรียนดีเป็นที่ยอมรับของสถาบันการศึกษาต่างๆ แต่ต่อมาภายหลังการศึกษาไทยมีคุณภาพลดลงและมีมาตรฐานการศึกษาที่ตกต่ำลงเรื่อยมา
 
ผลการจัดอันดับการศึกษาขององค์กรระหว่างประเทศซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก คือ  World Economics Forum – WEF เมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2556  ได้จัดอันดับการศึกษาของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ปรากฏว่าประเทศไทยถูกจัดอันดับอยู่ในลำดับที่ 142  และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ในประชาคมอาเซียนด้วยกัน ประเทศไทยก็ติดอันดับรั้งท้ายอยู่ในลำดับที่ 8  (ไม่นับรวมลาวและเมียนมาร์) ผลจากการจัดอันดับการศึกษาในครั้งนี้ได้สร้างความสั่นสะเทือนแก่กระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการเป็นกลไกสำคัญของภาครัฐซึ่งมีบทบาทและหน้าที่ในการบริหารจัดการการศึกษาของชาติที่จะต้องมีความรับผิดชอบอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
 
ก่อนหน้านี้สังคมไทยเคยตั้งคำถามถึงคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของชาติกับกระทรวงศึกษาธิการเสมอมา แต่เมื่อได้รับฟังคำชี้แจงจากกระทรวงศึกษาธิการแล้ว ก็ไม่ค่อยสู้จะเข้าใจกระไรนัก เพราะผู้บริหารกระทรวงมักแสดงภูมิความรู้ด้วยการใช้ศัพท์แสงทางวิชาการเป็นภาษาต่างประเทศตามความเชื่อของตนที่ได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดของนักการศึกษาตะวันตกจนคนในสังคมส่วนใหญ่ฟังไม่รู้เรื่อง
 
การปฏิรูปการศึกษาที่ดำเนินการกันมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้วนั้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับและพัฒนาการศึกษาของชาติให้มีคุณภาพและมาตรฐาน แต่ก็ไม่บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย เนื่องจากเป็นเพียงแค่การปฏิรูปในเชิงปริมาณหาใช่การปฏิรูปในเชิงคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร เน้นแต่การก่อสร้างอาคารเรียนต่างๆ ละเลยการพัฒนาคุณภาพครูและกระบวนการการเรียนการสอน ฯลฯ   เป็นที่น่าเสียดายที่ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาของชาติโดยทุ่มงบประมาณแผ่นดินให้กับกระทรวงศึกษาธิการมากกว่าทุกกระทรวงโดยใช้งบประมาณสูงถึง 400,000 ล้านบาทเศษต่อปี  ซึ่งสูงเป็นอันดับหนึ่งในประชาคมอาเซียนและเป็นลำดับต้นๆ ของโลก  เมื่อเปรียบเทียบงบประมาณการลงทุนอย่างมากมายกับการศึกษาของชาติกับผลลัพธ์ที่ได้รับจากการจัดอันดับการศึกษาของ WEF  นับว่าเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า เพราะใช้งบประมาณมากแต่ความสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษามีน้อย ถือได้ว่าเป็นความล้มเหลวของการศึกษาที่ไม่สามารถพัฒนาไปสู่ความเจริญก้าวหน้าเท่าที่ควรจะเป็น กระทรวงศึกษาธิการจึงต้องย้อนกลับไปสำรวจและพิจารณาถึงปัญหาน้อยใหญ่นานัปการอย่างมีเหตุผลและมีความเหมาะสมบนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง
 
ปัญหาหลักซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานที่เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการการเรียนรู้ทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการต้องดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจังและเร่งด่วน คือ การยกเลิกวิธีการสอนภาษาไทยให้เด็กฝึกอ่านเป็นคำๆ แบบภาษาอังกฤษ แต่ต้องหันกลับมาใช้วิธีการเดิมตามรูปแบบการสอนภาษาไทยในอดีตด้วยการฝึกสะกดคำอ่านตามพยัญชนะและสระ รวมถึงการฝึกผันวรรณยุกต์ มิเช่นนั้นเด็กจะอ่านหนังสือไม่ออก หรือแม้ว่าอ่านออกแต่ก็อ่านแบบกระท่อนกระแท่น ส่งผลให้เด็กไม่ชอบอ่านหนังสือเพราะอ่านไม่ออกหรืออ่านได้บ้างไม่ได้บ้าง อย่าลืมว่าภาษาไทยมีความสำคัญเปรียบเสมือนกุญแจในการไขความรู้จากวิชาต่างๆ
 
         หากจะปฏิรูปการศึกษาให้สัมฤทธิ์ผลทางการศึกษาอย่างแท้จริง กระทรวงศึกษาธิการจะต้องแก้ไขตั้งแต่จุดเริ่มต้น คือ จะต้องปฏิรูปกระบวนการการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนและนักเรียนชั้นประถมศึกษาเป็นเบื้องต้นเสียก่อน ส่วนวิชาความรู้อื่นๆ ก็จัดให้มีสาระการเรียนรู้อย่างเหมาะสมและทันต่อสภาวการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การศึกษาของชาติจึงจะมีคุณภาพและมาตรฐานที่จะนำพาคนในชาติไปสู่การเป็นผู้มีการศึกษาในอนาคต
 
 
ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล
 
ที่มาของข่าว : เว็บไซต์หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 5 ตุลาคม 2556






6 เทคนิคเปลี่ยนเด็กประถม สู่เด็กมัธยมคนเก่ง

        โลกแห่งการเรียนรู้ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ การเปลี่ยนแปลงจากชั้นประถมมาสู่ชั้นมัธยมของลูก ๆ จึงมีหลายสิ่งที่น่าสนใจ และน่าปลูกฝังให้เด็กมีความพร้อมสำหรับรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว แถมในชั้นมัธยมนี้ เด็กจะต้องพบกับการสอบแข่งขันที่เข้มข้นกว่าเดิม เพื่อจุดหมายปลายทางในการเรียนในมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาที่ชื่นชอบอีกด้วย .....

          เพื่อให้ลูกประสบความสำเร็จในชีวิตการเรียน สามารถปรับตัวให้เข้ากับระบบการเรียนแบบใหม่ได้รวดเร็ว และมีความสุขตามวัย ในฐานะพ่อแม่อาจพอจะช่วยเตรียมทักษะบางประการให้กับเขา ดังนี้

บอกลูกว่าถึงบริหาร "เวลาของตัวเอง" 

       เมื่อเข้าสู่การเรียนในชั้นมัธยม พร้อม ๆ กับการเปลี่ยนจากวัยเด็กมาสู่วัยรุ่น ลูก ๆ ของคุณพ่อคุณแม่ต้องเรียนรู้ที่จะรับผิดชอบในการบริหารจัดการเวลาของตนเอง โดยอาจแบ่งช่วงเวลาที่เด็กควรจัดสรรให้กับตนเองคร่าว ๆ ดังนี้

- การเรียนในห้อง
- กิจกรรมที่สนใจ
- การทำการบ้าน
- เวลาให้กับครอบครัว เพื่อน สังคมรอบข้าง

ซึ่งโดยปกติแล้ว เด็กวัยรุ่นมักชอบใช้เวลาไปกับเพื่อนฝูง คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ จึงไม่น่าแปลกที่เด็กบางคนลืมหน้าที่ที่ตนเองควรทำไป การสอนให้เขารู้จักบริหารเวลาจึงมีประโยชน์มากสำหรับเด็กในวัยนี้ เพื่อที่เด็กจะได้มองเห็นภาพรวมของชีวิตตนเองได้


อย่ามองข้าม "ทักษะในการเรียนพื้นฐาน" 

เทคนิคเหล่านี้คือสิ่งที่เด็ก ๆ วัยรุ่นควรฝึกให้เป็นนิสัย
- เตรียมตัวสำหรับการเรียนในแต่ละวิชาไปล่วงหน้า และเข้าห้องเรียนให้ตรงเวลา
- ตรวจสอบการบ้าน งานที่ต้องส่งว่าทำสำเร็จ ครบทุกชิ้น และส่งให้ตรงเวลา
- ทบทวนบทเรียนในแต่ละวัน สะสมไปเรื่อย ๆ ดีกว่ามานั่งอ่านทุกอย่างก่อนวันสอบ

น่าเสียดายที่เด็กวัยรุ่นหลายคนมองข้ามจุดนี้ไป ทำให้พวกเขาไม่มีความสุขในห้องเรียน ทำคะแนนได้ไม่ดี ทั้ง ๆ ที่หากเขารู้ว่าเพียงรับผิดชอบสิ่งเหล่านี้ เขาก็สามารถทำได้ง่าย ๆ

ฝึกการจดโน้ตเอาไว้ไม่เสียหลาย 

        ยิ่งเรียนชั้นสูงขึ้นเรื่อย ๆ การเรียนก็จะเริ่มกลายเป็นการจดโน้ตย่อส่วนตัวมากขึ้นทุกที พ่อแม่ที่ทราบในจุดนี้จะช่วยเตรียมทักษะด้านการจดโน้ตย่อให้กับลูกได้ก่อนใคร เด็กก็จะปรับตัวเข้ากับการเรียนในลักษณะนี้ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในช่วงแรกของการฝึก เด็กอาจเคยชินกับการจดทุกอย่างที่คุณครูพูดหน้าชั้นลงไป และทำให้จดไม่ทัน แต่เมื่อฝึกไปนาน ๆ เขาจะเริ่มคัดกรองคำพูดเหล่านั้น และจดเฉพาะสิ่งที่สำคัญลงไปแทน

หากจะมีอุปกรณ์ช่วยจูงใจให้เขาอยากฝึกมากขึ้น ลองเตรียมกระดาษ ปากกา ที่เหมาะสำหรับการจดโน้ตเอาไว้ให้เขาก็จะยิ่งดี


ถึงเวลาต้องตั้งเป้าหมายแล้ว 

           หากลูกไม่เคยตั้งเป้าหมายอะไรมาก่อน ช่วงวัยมัธยมเป็นช่วงเวลาที่ดีที่พ่อแม่ควรกระตุ้นให้เด็กได้ฝึกทักษะข้อนี้ เพราะมันเป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญสำหรับการเรียนในระดับที่สูงขึ้นไป มันจะทำให้เด็กมีแนวทางของตนเอง และก้าวไปเพื่อสิ่งนั้น ตรงข้ามกับเด็กที่ไม่มีจุดมุ่งหมายอะไรเลย จึงใช้ชีวิตไร้แก่นสารไปวัน ๆ โอกาสจะว่อกแว่กออกนอกลู่นอกทางก็จะเป็นไปได้สูง


หมั่นทบทวนบทเรียนเสมอ 

         ปัญหาใหญ่อีกประการหนึ่งของการเรียนในชั้นมัธยมก็คือการจดโน้ตเอาไว้ และทิ้งมันไปจนกว่าจะถึงการสอบ ค่อยเอามาทบทวน ควรสอนให้ลูกทบทวนเรื่องที่เรียนมาให้เป็นนิสัย โดยอาจจะนำสิ่งที่จดไว้มาเขียนใหม่อีกครั้ง (ช่วยให้เด็กซึมซับข้อมูลนั้นเข้าไปโดยไม่รู้ตัว) แถมยังช่วยให้เด็ก ๆ ไม่ต้องอัดข้อมูลจำนวนมากเข้าสมองในวันก่อนสอบด้วย


"จัดการ" ๆๆๆๆ 

      การบริหารจัดการ หากเริ่มได้ตั้งแต่ในช่วงวัยนี้ก็จะมีประโยชน์มาก ฝึกให้ลูกเป็นคนที่มีความรับผิดชอบ จัดการชีวิตของตนเองเสียแต่วันนี้จะดีกว่า พ่อแม่อาจหาตาราง สมุด ปากกา ดินสอ หรืออุปกรณ์เสริมเพิ่มเติมที่จะช่วยให้เขาใช้มันบริหารจัดการชีวิต ถ้าลูกไม่ลืมทำการบ้าน ไม่ลืมว่าวันใดจะมีสอบ ไม่ลืมที่จะแบ่งเวลาอ่านหนังสือ ไม่ว่าอย่างไร เขาก็ไม่มีทางอับจนในชีวิตอย่างแน่นอน

       ทักษะเหล่านี้ ทีมงานเชื่อว่า หากเด็กคนใดฝึกจนเป็นนิสัย ชีวิตในช่วงชั้นมัธยมของเขาก็น่าเป็นเวลาที่เขาได้เติบโตอย่างแท้จริง แถมยังทำให้ชีวิตในช่วงวัยนี้ไม่น่าเบื่อ ไร้สาระอีกด้วย ในฐานะพ่อแม่มาเตรียมทักษะที่ควรมีสำหรับการก้าวสู่วัยผู้ใหญ่ให้ลูกกันเถอะค่ะ

ที่มา  http://www.kroobannok.com/blog/43032

คุณลักษณะของครูที่ดี 10 ประการ


คุณลักษณะของครูที่ดี 10 ประการ

1. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง ความประพฤติ ทั้งทางกายและวาจาและใจ ที่แสดงถึงความเคารพในกฎหมาย ระเบียบประเพณีของสังคม และความประพฤติที่สอดคล้องกับอุดมคติหรือความหวังของตนเอง โดยให้ยึดส่วนรวมสำคัญกว่าส่วนตัว

2. ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม หมายถึง การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เอาเปรียบ หรือคดโกงผู้อื่นหรือส่วนรวม ให้ยึดถือหลักเหตุผล ระเบียบแบบแผนและกฎหมายของสังคมเป็นเกณฑ์

3. ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม

4. ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมและไม่ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่สังคม

5. ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล หมายถึง ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การงาน

6. ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือ ในการอยู่ร่วมกันโดยยึดผลประโยชน์ของสังคมให้มากที่สุด

7. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หมายถึง ความมั่นคงและจิตใจ รู้จักบำรุงรักษากายและจิตใจให้สมบูรณ์ มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง

8. ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น

9. ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมของตนเองและทรัพยากรของชาติ

10. ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคีกัน หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกถึงความแบ่งปัน เกื้อกูลผู้อื่น ในเรื่องของเวลากำลังกายและกำลังทรัพย์ 

ที่มา  http://www.kroobannok.com/blog/32603

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (carbon footprint)

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (carbon footprint) หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์หรือบริการ (life cycle greenhouse gas emission) ครอบคลุมตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การประกอบชิ้นส่วน การใช้งาน และการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังใช้งาน ซึ่งจะทำให้ทราบว่า กว่าที่จะได้ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นให้เราได้ใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการดำรงชีพหรือทำให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้นนั้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยเท่าไร โดยแสดงออกมาในรูปของปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกสำคัญชนิดหนึ่งที่ทำให้โลกร้อนขึ้นหากมีมากเกินกว่าที่ระบบของธรรมชาติจะรักษาสมดุลไว้ได้
ข้อมูลจากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ต่างๆ นิยมนำมาจัดทำเป็นฉลากคาร์บอนซึ่งมี 2 ประเภทหลัก คือ ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (carbon footprint label) และฉลาดลดคาร์บอน (carbon reduction label) ซึ่งเป็นฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทหนึ่งที่แสดงข้อมูลด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ให้แก่ผู้บริโภคได้ทราบและใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อร่วมกับการพิจารณาด้านราคาและด้านคุณภาพของสินค้า ฉลากทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันตรงที่ ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์จะแสดงปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ได้ปล่อยออกจากวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์  ส่วนฉลากลดคาร์บอนจะแสดงเฉพาะระดับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันเนื่องจากการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ตลอดจนการปรับปรุงขั้นตอนการผลิตหรือการปรับวิธีการใช้งานผลิตภัณฑ์เพื่อให้ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก คาร์บอนฟุตพริ้นท์จึงเป็นข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นรูปแบบและวิธีการบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อแสดงความร่วมมือในการลดปัญหาภาวะโลกร้อน
นอกจากเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคแล้ว คาร์บอนฟุตพริ้นท์ยังมีความสำคัญต่อผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ เนื่องจากการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์จะทำให้ผู้ผลิตทราบว่าในแต่ละขั้นตอนของการผลิตสินค้ามีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นปริมาณเท่าไร ทำให้เห็นประเด็นปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไขกระบวนการผลิต หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะในเรื่องการลดใช้พลังงานซึ่งหมายถึงการลดต้นทุนการผลิต นอกจากนี้การแสดงคาร์บอนฟุตพริ้นท์ยังเป็นการสื่อถึงความตั้งใจในความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมของผู้ผลิตอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์และฉลาดลดคาร์บอนยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกด้วย เนื่องจากขณะนี้คาร์บอนฟุตพริ้นท์และฉลากคาร์บอนได้ถูกพัฒนาและใช้อยู่ในหลายประเทศแล้ว เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน สหรัฐ แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน เป็นต้น ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องมีข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าเหล่านี้ 
 
ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์และฉลากลดคาร์บอนของประเทศไทย
 
สำหรับประเทศไทย การพัฒนาฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์และฉลาดลดคาร์บอน ดำเนินงานโดยองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ในขณะนี้มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการอนุมัติให้ขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์แล้ว 45 รายการ มีหลากหลายกลุ่มสินค้า เช่น เครื่องดื่มกระป๋อง เส้นด้ายยืดไนล่อน ไก่ย่างบรรจุถุง ผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิบรรจุถุง บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเหลวและเครื่องดื่ม เสื้อยืดผ้าฝ้าย ยางรถแทรกเตอร์ เป็นต้น ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียนฉลากลดคาร์บอนมีจำนวน 18 รายการ ได้แก่ ผลไม้อบแห้ง น้ำมันปาล์ม ผลิตภัณฑ์ไม้เทียม ปูนซีเมนต์ ถุงยางอนามัย กระเบื้องปูพื้นและมุงหลังคา น้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์เซรามิค พรมปูพื้น สีทาบ้าน น้ำนมถั่วเหลือง ก๊อกน้ำและวาล์ว เม็ดพลาสติก 
 
ตัวอย่างฉลากคาร์บอนของประเทศต่างๆ
 
 
          ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์และฉลากคาร์บอนได้คือ องค์ความรู้ในเรื่องการประเมินผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมตลอดช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) และการพัฒนาฐานข้อมูลบัญชีรายการสิ่งแวดล้อม (Life Cycle Inventory Database: LCI) ของผลิตภัณฑ์พื้นฐานต่างๆ เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถใช้ข้อมูลการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของวัตถุดิบพื้นฐานมาใช้ในการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของสินค้าที่ผลิต หรือใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้
ประเทศไทยได้มีการดำเนินการพัฒนาฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตของวัสดุพื้นฐานและพลังงานของประเทศ (Thai National Life Cycle Inventory Database) ในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งเกิดจากความร่วมมือกันของ 5 หน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) กระทรวงอุตสาหกรรมโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (สสท.) โดยมีเอ็มเทคเป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินงาน ปัจจุบันได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ผ่าน “โครงการเพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมไทยในการแข่งขันภายใต้กฎระเบียบของประเทศคู่ค้า” เพื่อขยายขอบเขตการจัดทำฐานข้อมูลฯ ในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายให้ครอบคลุมวัสดุพื้นฐานต่างๆ ที่สำคัญของประเทศไทย เช่น เหล็กและเหล็กกล้า โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก สารเคมีพื้นฐาน สี วัสดุก่อสร้าง การเกษตร ตลอดจนระบบการขนส่ง และการจัดการของเสียเมื่อหมดอายุการใช้งาน เป็นต้น
 
 
 
 
 ผลิตภัณฑ์ของไทยที่ขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์


8 ตัวอย่างภาษาอังกฤษแบบผิดๆ ที่ฮิตติดปากคนไทย

        ในปัจจุบันมีคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่คนไทยใช้กันจนติดปากอยู่มากมาย แต่คุณเคยรู้ไหมว่ามีบางคำที่ฝรั่งเค้าไม่ได้ใช้อย่างที่เราพูดกันติดปาก วันนี้จึงเสนอคำศัพท์สัก 8 ตัวอย่างที่คนไทยมักใช้อย่างผิดๆ จนติดเป็นนิสัยพร้อมทั้งคำที่ถูกต้องซึ่งคุณควรนำไปใช้เวลาคุยกับฝรั่ง พร้อมแล้วมาเริ่มกันเลย 

1.อินเทรนด์ (in trend) 
     คำนี้อินเทรนด์มากๆ เอ๊ย...ฮิตมากๆ ในปัจจุบัน สามารถได้ยินตามรายการวิทยุหรือโทรทัศน์ทั่วไป เพราะใช้กันทั่วบ้านทั่วเมือง เช่น เด็กสมัยนี้ถ้าจะให้อินเทรนด์ต้องตามแฟชั่นเกาหลี ซึ่งบางทีเวลาคุณต้องการพูดว่า "มันทันสมัย" คุณอาจจะติดปากว่า "It is in trend." คำว่า "ทันสมัย" ฝรั่งเค้าไม่ใช้คำว่า "in trend" อย่างคนไทยเค้าจะใช้คำว่า "trendy" หรือ "fashionable" ซึ่งเป็นคำคุณศัพท์ที่คุณสามารถวางไว้หน้าคำนามที่ต้องการขยาย เช่น a trendy haircut ทรงผมที่ทันสมัย, a fashionable restaurant ร้านอาหารที่ทันสมัย หรือจะไว้หลัง verb to be เช่น It is trendy. หรือ It is fashionable. ก็ได้ 

2.เว่อร์(over) 
     เช่น เธอคนนั้นทำอะไรเว่อร์ๆ She is over. ไม่มีความหมายแต่อย่างใดในภาษาอังกฤษ ฝรั่งที่ได้ยินคุณพูดเช่นนี้ คงมึนตึบ พร้อมทำสีหน้างงว่ามันหมายถึงอะไรเหรอ? พูดถึงคำนี้ คนไทยน่าจะหมายถึงการพูดเกินจริงหรือทำเกินจริง ซึ่งถ้าพูดเกินจริง ควรจะใช้คำศัพท์ที่ว่า "exaggerate" เป็นคำกิริยา อ่านว่า เอก-แซ้ก-เจ่อ-เรท ตัวอย่างเช่น 

"He said you walked 30 miles." เค้าบอกว่าคุณเดินตั้ง 30 ไมล์ 
"No - he's exaggerating. It was only about 15." ไม่หรอก เค้าพูดเว่อร์ (เกินจริง) มันก็แค่ 15 ไมล์เอง 

ดังนั้น ถ้าจะบอกว่า เธอพูดเว่อร์น่ะ ก็บอกว่า You're exaggerating. หรือจะบอกเค้าว่า อย่าพูดเว่อร์ๆ น่ะ อาจใช้ว่า Don't exaggerate. ส่วนอาการเว่อร์อีกแบบคือการทำเกินจริง เราจะใช้คำกิริยาที่ว่า "overact" เช่น You're overacting. เธอทำเว่อร์เกิน (แสดงอารมณ์เกินจริง) 

3.ดูหนัง soundtrack 
        เวลาคุณจะบอกใครว่า ฉันต้องการดูหนังฝรั่งที่พากย์ภาษาอังกฤษ อย่าพูดว่า "I want to watch a soundtrack film." แต่ควรจะใช้ว่า "I want to watch an English film." เพราะความหมายของคำว่า "soundtrack" คือ ดนตรีที่อยู่ในภาพยนตร์ ต่างหาก 

ถ้าเราจะพูดถึงหนังฝรั่งที่พากย์เสียงภาษาไทย เราต้องบอกว่า "I want to watch an English film that is dubbed into Thai." เพราะคำกิริยาว่า "dub" คือพากย์เสียงจากต้นแบบในหนังหรือรายการโทรทัศน์ไปเป็นภาษาอื่น ส่วนหนังที่มีคำบรรยายใต้ภาพเราเรียกว่า "a subtitled film" ซึ่งคำบรรยายที่อยู่ใต้ภาพ เราเรียกว่า "subtitles" (ต้องมี s ต่อท้ายเสมอนะครับ) เช่น a French film with English subtitles หนังฝรั่งเศสที่มีคำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาอังกฤษ 

หนังบางเรื่องจะมีคำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาเดียวกับที่นักแสดงพูด เรามีศัพท์เรียกเฉพาะว่า "closed-captioned films/คำหวงห้าม/television programs" หรือ อาจเขียนย่อๆ ว่า "CC" เช่น You should watch a closed-captioned film to improve your English. คุณควรจะดูหนังฝรั่งที่มีคำบรรยายภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษของคุณ 

4.นักศึกษาปี 1 คนไทยมักเรียกว่า "freshy" 
        ซึ่งฝรั่งไม่รู้เรื่องเพราะไม่มีการบัญญัติศัพท์คำนี้ในภาษาอังกฤษ เค้าจะใช้คำว่า "fresher" หรือ "freshman" เช่น He is a fresher. หรือ He is a freshman. หรือ He is a first-year student. เขาเป็นนักศึกษาปี 1 ส่วนปีอื่นๆ คนไทยเรียกถูกแล้วครับ คือ ปี 2 เราเรียก a sophomore, ปี 3 เรียกว่า a junior และ ปี 4 เรียกว่า a senior 

5.อัดหรือบันทึก คนไทยมักพูดทับศัพท์ว่า เร็คคอร์ด (record) 
        คำๆ นี้สามารถเป็นได้ทั้งคำนามและคำกิริยา เพียงแค่เปลี่ยนตำแหน่ง stress กล่าวคือ ถ้าจะใช้เป็นคำนามที่แปลว่า แผ่นเสียงหรือสถิติ ให้ขึ้นเสียงสูงที่พยางค์แรก คือ "เร็ค-คอร์ด" เช่น He wants to buy a record. เขาต้องการซื้อแผ่นเสียง, I broke my own record. ฉันทำลายสถิติของฉันเอง แต่ถ้าคุณจะหมายถึงคำกิริยาที่แปลว่า อัดหรือบันทึก ต้อง stress พยางค์หลัง ซึ่งจะอ่านว่า "รี-คอร์ด" เช่น I'll record the film and we can all watch it later. ฉันจะอัดหนัง เราจะได้เก็บไว้ดูทีหลังได้ ส่วนเครื่องบันทึก เราเรียกว่า "recorder" อ่านว่า รี-คอร์-เดอร์ 

6.ต่างคนต่างจ่าย เรามักใช้ American share 
          รับรองว่าฝรั่ง(ต่อให้เป็นชาวอเมริกันด้วยครับ) ได้ยินแล้ว งงแน่นอน ถ้าคุณจะหมายถึงต่างคนต่างจ่ายให้ใช้ว่า "Let's go Dutch." หรือ "Go Dutch (with somebody)." อันนี้ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเป็นธรรมเนียมของชาวดัตช์หรือเปล่า? ที่ต่างคนต่างจ่ายเลยมีสำนวนอย่างนี้ หรือคุณอาจจะบอกตรงๆ เลยว่า "You pay for yourself." คือเป็นอันรู้กันว่าต่างคนต่างจ่าย แต่ถ้าคุณต้องการเป็นเจ้ามือ(ไม่ใช่เล่นไพ่นะคะ)เลี้ยงมื้อนี้เอง คุณควรพูดว่า "It's my treat this time." หรือ "My treat." หรือ "It's on me." หรือ "All is on me." หรือ "I'll pay for you this time." ทั้งหมดแปลว่า มื้อนี้ฉันจ่ายเอง ส่วนถ้าจะบอกเพื่อนว่า คราวหน้าแกค่อยเลี้ยงฉันคืน ให้บอกว่า "It's your treat next time." 

7.ขอฉันแจม (jam) ด้วยคน ในกรณีนี้คำว่า "แจม" 
         น่าจะหมายถึง "ร่วมด้วย" เช่น We are going to eat outside. Do you want to jam? เรากำลังจะออกไปกินข้าวข้างนอก เธอจะไปด้วยมั้ย? ในภาษาอังกฤษไม่ใช้คำว่า jam ในกรณีแบบนี้ ซึ่งควรจะใช้ว่า "Do you want to join us?", "Do you want to come with us?" หรือ "Do you want to come along?" จะดีกว่า 

8.เขามีแบ็ค (back) ดี "He has a good back."
         ฝรั่งคงงงว่ามันเกี่ยวอะไรกับข้างหลังของเค้า เพราะ back แปลว่า หลัง (อวัยวะ) แต่คุณกำลังจะพูดถึงมีคนคอยสนับสนุน ซึ่งต้องใช้ "a backup" ซึ่งหมายถึง คนหรือสิ่งของที่ช่วยสนับสนุน ช่วยเหลือ เกื้อกูล เป็นกำลังใจให้ 

       นี่เป็นเพียงแค่ 8 คำเบื้องต้นที่นำมาฝากเพื่อนๆ ซึ่งในชีวิตประจำวันยังมีคำอีกมากมายที่ยังถูกใช้แบบผิดๆ โอกาสหน้า  จะนำมาฝากกันใหม่


ที่มา  http://www.kroobannok.com/61096

ทำไมต้อง เปิด-ปิด เทอมตามอาเซียน?

UploadImage

ทำไมถึงต้องเปลี่ยนวันเปิดเทอม


          น้องๆ เคยสงสัยไหมว่าทำไมบ้านเราต้องเปลี่ยนแปลงวันเปิดเทอมด้วย วันนี้ศูนย์ข่าวการศึกษาไทยจะมาเล่าให้ฟังค่ะว่าที่มาเป็นอย่างไร เนื่องจากว่าที่ประชุมอธิการบดี (ทปอ.)ได้มีความเห็นร่วมกันในหลักการปรับเปลี่ยนวันเปิดเทอมของสถาบันอุดมศึกษาให้อยู่ในช่วงกลางเดือน ส.ค.-ก.ย. ในปี 2557 เพื่อให้สอดคล้องกับประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศในภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลกโดยเห็นว่าการปรับเวลาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์กับระบบอุดมศึกษาของไทยอย่างไรก็ตามที่ประชุมได้มอบหมายประธานทปอ.ไปดำเนินการศึกษาเรื่องการปรับระบบการเข้าสู่สถาบันอุดมศึกษาทั้งในระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบรับตรงและระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษาหรือแอดมิชชั่นกลางเพื่อเอื้อประโยชน์ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ปีที่ 3 ได้ใช้เวลาในการศึกษาเล่าเรียนให้เต็มเวลามากขึ้นต่างจากปัจจุบันที่นักเรียนจะต้องเร่งเตรียมตัวสำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยทั้งที่ยังศึกษาไม่จบและในขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยจะได้มีเวลาในการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนเข้าเรียนมหาวิทยาลัยทั้งเรื่องการปรับพื้นฐานการศึกษาและการพัฒนาศักยภาพทางภาษาของนักศึกษา

           เมื่อเห็นพ้องต้องกันว่าเราควรจะเปิดเทอมให้ตรงกัน ในประชาคมอาเซียนจึงได้เสนอการเปิด-ปิดเทอมของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งกำหนดเปิด-ปิดในเดือน ก.ย.-ธ.ค. จากเดิมมิ.ย.-ต.ค. ส่วนเทอมสองเปิด-ปิดเดือน ม.ค.-พ.ค. จากเดิม พ.ย.-มี.ค. และในส่วนของสภานศึกษาในสังกัดของสพฐ. จะปรับเปลี่ยนการเปิด จากเดิมภาคเรียนที่ 1 วันเปิดภาคเรียน 16 พ.ค. และปิดภาคเรียน 11 ต.ค. เปลี่ยนเป็นเปิดภาคเรียน 10 มิ.ย. และปิดภาคเรียน 4 พ.ย. ภาคเรียนที่ 2 วันเปิดภาคเรียน 1 พ.ย. และปิดภาคเรียน 1 เม.ย. ของปีถัดไป เปลี่ยนเป็นเปิดภาคเรียน 26 พ.ย. และปิดภาคเรียน 26 เม.ย. ปีถัดไป ซึ่งจะเลื่อนเปิดเทอมให้ตรงกันทั้งหมดในปีการศึกษา 2557

ผลดีของการเปลี่ยนวันเปิด-ปิดเทอม

1.นักศึกษาในกลุ่มอาเซียนเปิด-ปิดเทอมตรงกันทำให้ วิถีชีวิตการศึกษาเหมือนกัน คือ พอปิดเทอมก็เป็นช่วงที่หยุดเหมือนกัน
2. นักศึกษาที่เป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนก็จะรู้สึกไม่แตกต่างจากที่เรียนที่ประเทศของตน
3.ไม่เสียเปรียบกัน ในช่วงการสำเร็จการศึกษา ในการหางานทำ เพราะเป็นช่วงเดียวกัน
4.ในเมื่ออยู่ในกลุ่มอาเซียนเดียวกันการปฏิบัติแนวเดียวกัน เพื่อความเสมอภาค
5.เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ก้าวไปสู่การพัฒนา
6.ไม่เสียเวลาการศึกษาต่อในกลุ่มอาเซียน

ผลเสียของการเปลี่ยนวันเปิด-ปิดเทอม

1.นักศึกษาต้องมีการปรับตัว และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากวิถีเดิมที่เป็นอยู่
2.นักศึกษาที่อยู่ช่วงรอยต่อการเลื่อนการเปิด-ปิดเทอม แบบใหม่จะได้รับผลกระทบโดยตรง
3..อาจมีการแข่งขันกันทางด้านการหางานทำสูงขึ้น

         แต่กระนั้นการศึกษาของไทย นอกจากการเลื่อนการเปิด-ปิด ภาคเรียนเข้าสู่อาเซียนแล้ว ควรจะมีมาตรฐานการศึกษาที่มีคุณภาพเท่าเทียมหรือที่ดีและทันสมัยเพื่อแข่งขันทางด้านการศึกษาและบัณฑิตจบออกมาอย่างมีคุณภาพออกมาทำงานเพื่อพัฒนาประเทศชาติให้มีความเจริญรุ่งเรื่อง

ที่มา  รวมรวมข้อมูลโดยศูนย์ข่าวการศึกษาไทย
อ้างอิงข้อมูลจาก
http://www.dailynews.co.th/education/11183
http://www.thaipost.net/news/080811/42994
http://www.suthichaiyoon.com/detail/22008
http://fahnaja.blogspot.com/2012/02/blog-post.html


5 ตุลาคม วันครูโลก World Teacher's Day

วันครูโลก  (World Teachers' Day)

        เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2537ในการประชุมสัมมนาทางการศึกษานานาชาติ โดยองค์การยูเนสโก ได้จัดงาน วันครูโลก ต่อเนื่องทุกปี ทั้งนี้ เพื่อประกาศยกย่องครูให้เป็นบุคคลสำคัญ เนื่องจากมีบทบาทในการขับเคลื่อนการศึกษาให้มีความเจริญก้าวหน้า และเพื่อให้ครูทั่วโลกได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบของตนที่มีต่อสังคม ตลอดจนเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีในการช่วยเหลือมนุษย์
         สำหรับ วันครูโลก ในประเทศไทย สมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทยและคุรุสภา ได้ร่วมกับองค์กรการศึกษาต่าง ๆ จัดงาน "วันครูโลก" ขึ้นครั้งแรก ในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2547โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นประธานในพิธีเปิดงาน มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาระดับโลกมาบรรยายให้ความรู้ ซึ่งการจัดงานดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง คณะกรรมการจัดงานฯ จึงมีมติให้จัดงาน วันครูโลก ขึ้นเป็นประจำทุกปีอย่างต่อเนื่อง

สิ่งที่คนเป็นครูควรจะต้องรู้เป็นเรื่องแรก

ก็คือ หลักการสำคัญของการเรียนรู้นั่นเอง 

ซึ่งหลักการนั้นมีอยู่ 4 ประการดังต่อไปนี้

1. ผู้เรียนควรจะมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างจริงจัง (Active Participation) 
      หมายความว่า  เมื่อครูสอนนักเรียนก็จะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมการสอนของครูทั้งกายและใจ นักเรียนที่นั่งเหม่อลอยหรือนั่งหลับในขณะที่ครูสอนถือว่าไม่มีส่วนร่วมมากนัก นักเรียนที่ไม่ยอมคิดเมื่อครูถามคำถามก็ถือว่า ไม่มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน นักเรียนที่ลอกการบ้านเพื่อนแทนที่จะทำเอง ถือว่ามีส่วนร่วมเหมือนกันแต่ไม่เข้าขั้น active นักเรียนที่เข้าห้องปฏิบัติการแต่ไม่ยอมทำอะไรเองคอยอาศัยแต่เพื่อน ก็ถือว่าไม่มีส่วนร่วมอย่างจริงจังเช่นกัน ด้วยเหตุนี้เองผู้หลักผู้ใหญ่สมัยก่อนเขาจึงสอนเด็ก ๆ ว่า “จะต้องเป็นคนเอาตาดู เอาหูฟัง และเอาใจใส่” กับเรื่องรอบ ๆ ตัว จึงจะเฉลียวฉลาดทันคน

เพราะฉะนั้นคำถามสำหรับคนเป็นครูในหลักการข้อนี้ ก็คือ
  • ทำอย่างไรจึงจะทำให้นักเรียนเข้าเรียนโดยเอาตาดู เอาหูฟัง และเอาใจใส่
  • ทำอย่างไรจึงจะทำให้นักเรียนเข้าห้องปฏิบัติการและลงมือทำการทดลองด้วยตนเอง
  • ทำอย่างไรจึงจะทำให้นักเรียนคิดเมื่อครูถามคำถา
  • ทำอย่างไรจึงจะทำให้นักเรียนทำการบ้านด้วยตนเอง

ฯลฯ
     ครูจำนวนไม่น้อยที่ชอบคิดว่าพฤติกรรมการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังนี้เป็นหน้าที่ของผู้เรียนโดยตรง เพราะครูมีหน้าที่สอนเท่านั้น เข้าทำนองที่ว่า “นี่คือเรื่องของเธอ” “เรื่องของฉันคือสอน เรื่องของเธอคือเรียน” แท้ที่จริงแล้ว ส่วนหนึ่งของการสอนก็คือการทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมอย่างจริงจังนั่นเอง

2. ผู้เรียนควรจะได้เรียนรู้ทีละขั้นทีละตอนจากง่ายไปสู่ยากและจากไม่ซับซ้อนไปสู่รูปที่ซับซ้อน (Gradual approximation) 
     ตัวอย่างเช่น เด็ก ๆ ต้องบวกลบเลขเป็นเสียก่อนจึงจะสามารถเรียนรู้การคูณและการหาร คนเราต้องพูดเป็นคำ ๆ ได้เสียก่อนจึงจะสามารถพูดเป็นประโยคได้ หรือต้องเดินให้ได้เสียก่อน แล้วจึงวิ่งค่อยเหยาะ ๆ จากนั้นจึงวิ่งเร็ว ๆ เช่นนี้เป็นต้น ครูที่หวังจะสอนนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้จึงต้อง รู้จักแบ่งเนื้อหา และจัดลำดับเนื้อหาตามความยากง่าย แล้วจึงนำมาสอนทีละขั้นทีละตอนอย่างเหมาะสม


3. หลักการที่สามคือ ให้นักเรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับที่เหมาะสมและไม่เนิ่นนานจนเกินไป (Immediate feedback)
       เมื่อนักเรียนได้ทำกิจกรรมตามคำแนะนำหรือคำสั่งของครูไป แล้วเขาก็มักอยากจะ รู้ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นถูกต้องแล้วหรือยัง ถ้าเขาได้รับข้อมูลย้อนกลับทันการและเหมาะสมเขาก็จะเกิดการเรียนรู้ ที่ดีรวมทั้งเกิดความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าเขาไม่ได้รับข้อมูลย้อนกลับหรือต้องคอยเป็นเวลานานจึงจะได้รับเขาจะเกิดการเรียนรู้น้อย และในขณะเดียวกันความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ก็จะมีไม่มาก เพราะฉะนั้นครูจึงควรตระหนักในสิ่งต่อไปนี้
  • เมื่อเด็กตอบคำถามเขาจะต้องได้รับการบอกกล่าวว่าคำตอบของเขานั้นถูกหรือผิดประการใด
  • เมื่อเด็กการบ้านมาส่ง ครูต้องตรวจ และให้คำแนะนำให้เร็วที่สุด เท่าที่จะเร็วได้
  • เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมในการเรียนรู้ภาคปฏิบัติทักษะ ครูต้องคอยดูและคอยบอกว่าเขาปฏิบัติได้ถูกต้องแล้วหรือยัง

และสิ่งที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งที่การให้ข้อมูลย้อนกลับก็คือนอกจากจะต้องไม่ปล่อยให้เนิ่นนานเกินไปแล้ว ครูต้องบอกเขาด้วยว่าสิ่งที่เขาทำนั้น “ถูกต้องอย่างไร” และ “ยังไม่ถูกต้องอย่างไร” ไม่ใช่เพียงแต่บอกว่าถูกหรือผิดเท่านั้น นอกจากนั้น วิธีบอกหรือ Approach ของครูก็ควรจะไม่ทำลายความรู้สึกดี ๆ ของเด็กด้วย เช่น การที่จะบอกว่าคำตอบของเด็กไม่ถูกต้อง อาจจะมีได้หลายวิธี เช่น
  • พูดด้วยหน้าตาบึ้งตึง น้ำเสียงกราดเกรี้ยวว่า “ผิดใช้ไม่ได้”
  • พูดด้วยหน้าตาราบเรียบ เฉยเมยว่า “ผิด”
  • เขียนด้วยเครื่องหมายกากบาทขนาดมหึมาด้วยปากกาสีแดง
  • ไม่เขียนเครื่องหมายผิดแต่เขียนคำอธิบายว่ามันยังไม่ถูกต้องอย่างไรด้วยปากกาหมึกแดงหรือสะท้อนแสง
  • พูดยิ้ม ๆ ด้วยน้ำเสียงแฝงความเมตตาว่า “เกือบใช้ได้แล้ว เพียงแต่เธอลืมหรือสะเพร่าไปนิดเดียวเอง คราวหน้าต้องรอบคอบหน่อยนะ”

ฯลฯ

ครูที่ปรารถนาจะให้กำลังใจเด็กเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ก็สามารถเลือกวิธีการให้เหมาะกับอุปนิสัยของเด็กได้ โปรดอย่าลืมว่า

  • การให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงบวก ดีที่สุด
  • การให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงลบ ไม่ค่อยดีนักในแง่จิตวิทยาแต่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้
  • การไม่ให้ข้อมูลย้อนกลับใด ๆ แย่ที่สุด เพราะไม่ช่วยอะไรผู้เรียนเลย


 4. หลักการข้อที่สี่ การเสริมแรงหรือให้กำลังใจที่เหมาะสม (Appropriate Reinforcement)
      ผู้เรียนทุกคนไม่ว่าอายุมากหรืออายุน้อย ไม่ว่าหญิงหรือชาย ล้วนต้องการกำลังใจหรือการเสริมแรงเพื่อให้ฟันฝ่าอุปสรรค แสวงหาความรู้ต่อไป ซึ่งการให้กำลังใจของครูอาจจะกระทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น
  • เมื่อเด็กพยายามจะเล่าถึงความสำเร็จในการเรียนรู้ของเราเองให้ครูฟัง ครูก็ควรต้องมีเวลาฟัง
  • เมื่อเด็กมีคำถามและนำมาปรึกษา ครูก็ให้คำปรึกษาด้วยความเต็มใจ
  • เมื่อเด็กทำงานถูกต้องตามที่ควรจะเป็น ครูก็ชมเชย
  • เมื่อเด็กมีผลงานอยู่ในระดับดีมาก สามารถเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ ครูก็ยกย่องให้ปรากฏ
  • เมื่อเด็กมีผลงานที่ถูกต้อง แม้ไม่สมบูรณ์แบบ ครูก็ชมเชยในส่วนที่ถูกและชี้แนะในสิ่งที่ผิด

ฯลฯ

การเสริมแรงหรือการให้กำลังใจที่ดีจะต้องมีความพอเหมาะพอสมกับผลงาน คือ ไม่ชมเชยจนเกินความเป็นจริง เพราะจะทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ แต่ก็ต้องไม่น้อยจนเกินไป เช่น สำหรับเด็ก นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่มีผลการเรียนเฉลี่ย 3.39 อาจารย์ที่ปรึกษาก็น่าจะพูดชมเชยด้วย เพราะการยิ้ม ๆ อย่างเดียวก็น่าจะน้อยเกินไป แต่สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาอาจจะไม่ต้องพูดชมเชยด้วยก็ได้เพราะเขาโตแล้ว

          หลักการที่สำคัญในการเรียนรู้ทั้งสี่ประการที่ได้กล่าวมานี้เป็นหลักการเรียนรู้ทั่วไป ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนรู้ได้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ไม่เลือกเพศ ไม่เลือกวัย จะนำไปใช้กับเด็กเล็ก ๆ 4-5 ขวบ หรือจะนำไปใช้กับนักศึกษาปริญญาเอกอายุ 30-40 ปี ก็ย่อมได้เสมอ หลักการนี้เป็นหลักการที่มีการใช้มาและประสบความสำเร็จตั้งแต่สมัยพุทธกาล จนกระทั่งถึงปัจจุบัน เพราะฉะนั้นหากท่านจะทดลองนำไปใช้ดูบ้าง ก็น่าจะประสบผลสำเร็จได้โดยง่ายเช่นกัน

ที่มา  http://www.kroobannok.com/blog/45566

Note สรุป ชีววิทยา ฉบับสมบูรณ์


Biological Diversity
       ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ที่ดำรงชีวิตอยู่ในแหล่งที่อยู่อาศัยเดียวกันหรือแตกต่างกัน ซึ่งสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันจะมีความแตกต่างกันทั้งในด้านชนิดและจำนวน หรือแม้เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันก็อาจมีความแตกต่างหลากหลายได้เช่นกัน

ความหลากหลายทางชีวภาพมี 3 ประเภท ดังนี้
  1. ความหลากหลายทางพันธุกรรม 
  2. ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์
  3.  ความหลากหลายทางระบบนิเวศ

 แผนผังที่ 1 ประเภทของความหลากหลายทางชีวภาพ

ประเภทของสิ่งมีชีวิต
 สิ่งมีชีวิตแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามจำนวนเซลล์ ดังนี้
 1. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา และแบคทีเรียบางชนิด เป็นต้น
 2. สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เช่น คน สัตว์ และพืช เป็นต้น

สิ่งมีชีวิตแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามการมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ดังนี้
 1.  Procaryotic Cells เป็นสิ่งมีชีวิตที่เซลล์ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ได้แก่ แบคทีเรีย และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน
 2. Eucaryotic Cells เป็นสิ่งมีชีวิตที่เซลล์มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ได้แก่ เห็ดรา ยีสต์ สาหร่ายชนิดต่างๆ (ยกเว้นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน) โพรโทซัว พืช และสัตว์

 สิ่งมีชีวิตแบ่งออกเป็น 5 อาณาจักร
1. อาณาจักรมอเนอรา (Monera Kingdom)  Eucaryotic Cells
 2. อาณาจักรฟังไจ (Fungi Kingdom)  Procaryotic Cells 
3. อาณาจักรโพรทิสตา (Protista Kingdom)   Procaryotic Cells
 4. อาณาจักรพืช (Plantae Kingdom)   Procaryotic Cells
 5. อาณาจักรสัตว์ (Animalia Kingdom)   Procaryotic Cells

การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต
 สามารถจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตออกเป็น 7 หมวดหมู่หลักๆ จากใหญ่ไปเล็กได้ดังนี้

Kingdom    Phylum   Class   Order   Family   Genus   Species

 Species  คือ กลุ่มสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันสามารถผสมพันธุ์กันแล้วได้ลูกที่ไม่เป็นหมัน

 ไวรัส

ไวรัส (Virus) ไม่มีลักษณะเป็นเซลล์ เนื่องจากไม่มีเยื่อหุ้มเซลล์และไซโทพลาซึม แต่เป็นอนุภาคที่ประกอบด้วยโปรตีนซึ่งห่อหุ้มสารพันธุกรรมเอาไว้ ไวรัสมีขนาดเล็กมากซึ่งเราจะมองเห็นได้โดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนเท่านั้นไวรัสสามารถเพิ่มจำนวนตัวเองได้เมื่อเข้าไปอยู่ในเซลล์หรือร่างกายของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ดังนั้นในสภาวะดังกล่าว จึงถือว่าไวรัสเป็นสิ่งมีชีวิต ในทางตรงกันข้ามถ้าไวรัสไม่ได้อยู่ภายในเซลล์หรือร่างกายของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ไวรัสก็ไม่สามารถเพิ่มจำนวนตัวเองได้ ดังนั้นในสภาวะเช่นนี้จะถือว่า ไวรัสไม่ใช่สิ่งมีชีวิต

Kingdom Animalia

Porifera

อาศัยในทะเลส่วนใหญ่บางชนิดพบในน้ำจืด มีหลายเซลล์  ยึดติดอยู่กับที่(sessile)  ไม่มีหัว ปาก ทางเดินอาหาร มีระบบไหลเวียนน้ำในร่างกาย  รอบๆ ร่างกายมีรูพรุน (ostia) ซึ่งให้น้ำเข้าร่างกายสู่ส่วนกลางลำตัว (spongocoel) ภายในเซลล์มี นหสีท ให้น้ำออก ร่างกายสมสารท แบบ Asymmetry หรือ Radial เนื้อเยื่อมี2 ชั้น มีเซลล์พิเศษเรียกว่า Collar cell ไม่มีระบบประสาท  สืบพันโดย Budding มีโครงร่างยึดร่างกายเรียกว่า Spicule สิ่งมีชีวิตตัวอย่าง เช่น ฟองน้ำ



Coelenterata

อาศัยอยู่แบบเดี่ยวหรือกลุ่มที่เรียกว่า Colony  รูปร่างมี 2 แบบ คือ ทรงกระบอก (Polyp) และ ร่มคว่ำ (Medusa)  ร่างกายสมมาตรแบบ Radial Symmetry  มีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ระหว่างชั้นมีของเหลว เรียกว่า Mesogloea หนวดที่ยื่นออกมา(Tentacle)โดยเชื่อมติดกับช่องกลางลำตัว(Gastrovascular cavity) ที่ปลาย Tentacle มีเข็มพิษ(Cnidoblast) ซึ่งสร้างสารพิษ(Nematocyst) โครงร่างอาจมีหินปูนหรือไม่มี  ไม่มีระบบหมุนเวียนโลหิต ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย แบบเฉพาะ  มีระบบประสาทแบบร่างแห(Nerve net) การสืบพันมีทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ หรือแบบสลับ(Metagenesis) สิ่งมีชีวิตตัวอย่าง เช่น ไฮดรา แมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล



Platyhelminthes

ลำตัวแบน  มีรูปแบบทางร่างกายคล้ายหัว  สมมาตรแบบ Bilateral  มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก หลอดอาหารแตกแขนงทั่วร่างกาย  ไม่มีระบบหมุนเวียนเลือด  หายใจแพร่ผ่านทางผิวหนัง มีFlame cell เป็นรูข้างลำตัวไว้ขับถ่าย  มีปมประสาท 1 คู่ หรือ เป็นรูปขั้นบันได  ช่องว่าในลำตัวเป็นช่องว่าเทียม ผสมพันธุ์ในตัวเองได้  ส่วนใหญ่เป็นปรสิต แต่บางชนิดก็ดำรงชีวิตแบบอิสระ เช่น พานาเรีย  มีการย่อยอาหารทั้งภายในและภายนอกเซลล์     สิ่งมีชีวิตตัวอย่าง เช่น พานาเรีย  หนอนตัวแบน



Nematoda

ลำตัวกลมยาว เรียวหัวท้าย ไม่มีข้อปล้อง ผิวหนังมี cuticle หนา สมมาตรร่างกายแบบ Bilateral  ทางเดินอาหารสมบูรณ์  ระบบขับถ่ายเป็นเซลล์พิเศษทำหน้าที่เป็นเมือนต่อม  ไม่มีระบบหมุนเวียนโลหิต  หายใจผ่านผิวหนัง  ระบบประสาทเป็นแบบวงแหวน  รอบส่วนหลอดอาหาร  มีการแยกเพศ  ปฏิสนธิภายใน  ไข่มีเปลือกหุ้ม ส่วนใหญ่เป็นปรสิต แต่บางชนิดก็ดำรงชีวิตแบบอิสระ เช่น  หนอนในน้ำส้มสายชู  ไม่มีช่องว่างในร่างกายที่แท้จริงสิ่งมีชีวิตตัวอย่าง เช่น พยาธิตัวกลม  หนอนในน้ำส้มสายชู



Anilida

ลำตัวเป็นปล้อง  ภายในลำตัวมี Coelom ใหญ่ แบ่งเป็นตอนๆ  มีเยื่อกั้น ที่อาศัยอาจอยู่ใต้ดิน  ก้นทะเลหรือน้ำจืด บางพวกอยู่ที่ชื้นแฉะ หรือ ว่ายน้ำอิสระ  ร่างกายมีรยางค์  ผิวมีCuticle ปกคลุม  ทางเดินอาหารสมบูรณ์  มีหลอดอาหารย่างแบ่งเป็นส่วนๆ ทำหน้าที่ต่างกัน  มี Nephridium เป็นอวัยวะขับถ่าย  ระบบหมุนเวียนเลือดเป็นแบบเปิด  มี Haemoglobin อยู่ในเลือด มีปมประสาท 1 คู่ หัวใจเป็นแบบหัวใจเทียม  หายใจโดยแลกเปลี่ยนทางผิวหนังหรือเหงือก  เป็นกระเทย แต่ต้องผสมพันธุ์ข้ามตัว   สิ่งมีชีวิตตัวอย่าง เช่น ไส้เดือนดิน แม่เพรียง ปลิงน้ำจืด ทากดูดเลือด



Mollusca

มีเนื้อเยื่อ Mantle ปกคลุมลำตัวที่อ่อนนิ่ม  ส่วนใหญ่มีหินปูนเป็นเปลือกแข็ง   สมมาตรร่างกายแบบ Bilateral  ระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์  ในช่องปากมี  radula  ช่วยบดอาหาร  ระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิดยกเว้นปลาหมึก  ระบบหายใจมี Gill และ Mantle ทำหน้าที่หายใจ  ระบบขับถ่ายมีไต 1-6 คู่  มีกล้ามเนื้อด้านล่างที่แข็งแรงไว้ใช้เคลื่อนที่หรือขุดหาอาหาร  หอยทาก เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่บนบก และหายใจด้วยปอด  มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น สิ่งมีชีวิตตัวอย่าง เช่น  ปลาหมึก หอยฝาเดียว หรือฝาคู่  หอยทาก



Arthropoda

มีรยางค์เป็นข้อต่อ ลำตัวที่เห็นภายนอกเป็นข้อหรือปล้อง  ร่างกายแบ่งเป็น ส่วน หัว อก และท้อง  มีโครงสร้าง Chitin อยู่ภายนอก จึงลอกคราบได้  ระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์ มี ปาก และขากรรไกร  ระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด มีช่องว่า Haemocoel  ระบบหายใจมีทั้ง  Gill  Trachea  Book lung   Book gill ระบบขับถ่ายมีหลายแบบ  เช่น Green gland ในกุ้ง หรือ Malpighian tubule ในแมลง  มีปมประสาทที่ส่วนหัว  ผสมพันธุ์แบบแยกเพศ  ปฏิสนธิภายใน  ออกลูกเป็นไข่  มี Metamorphosis ทั้งแบบสมบูรณ์ 4 ระยะ  และไม่สมบูรณ์ 3 ระยะ สิ่งมีชีวิตตัวอย่าง เช่น  ปู กุ้ง กั้ง แมลง เห็บ เหา ตะขาบ กิ้งกือ แมงดาทะเล



Echinodermata

อาศัยในทะเลทั้งหมด  สมมาตรร่างกายแบบ Bilateral  ในช่วงตัวอ่อน และ Radial ในช่วงตัวเต็มวัย  ผนังลำตัวภายนอกขรุขระ  มีโครงสร้างภายในเป็นแผ่นหินปูน  มีระบบท่อน้ำช่วยในการหายใจและเคลื่อนที่  มีช่องว่างในลำตัว  หายใจโดยผิวหนัง  ระบบประสาทเป็นวงกลม และแตกแขนงไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย  แยกเพศเป็นส่วนใหญ่  ปฏิสนธิภายนอก สิ่งมีชีวิตตัวอย่าง เช่น  ดาวทะเล



Chodata

มี Notocord เป็นแกนกลางลำตัวตลอดชีวิต หรือในระยะใดระยะหนึ่งของชีวิต  มีเส้นประสาทไขสันหลัง  มีอวัยวะแลกเปลี่ยนก๊าซที่คอหอยหรือที่ปอด สมมาตรร่างกายแบบ Bilateral    มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้นมีช่องว่าลำตัวขนาดใหญ่ มีทางเดินอาหารสมบูรณ์ มีกระดูกภายใน สิ่งมีชีวิตตัวอย่าง เช่น เพรียงหัวหอม ปลาปากกลม สัตว์มีกระดูกสันหลัง ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก  สัตว์เลื้อยคลาน นก และ สัตว์เลี้ยลูกด้วยนม



พันธุศาสตร์
      พันธุศาสตร์ คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของยีน (Gene) ซึ่งเป็นหน่วยควบคุมการถ่ายทอดลักษณะต่างๆ จากรุ่นพ่อแม่ไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน และความแปรผันของลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต

พันธุกรรม
      พันธุกรรม คือ ลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่สามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อๆ ไปได้ โดยมี
 กระบวนการสืบพันธุ์เป็นสื่อกลาง

ความหมายของคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

1. เซลล์สืบพันธุ์ (Gamete) หมายถึง อสุจิ (Sperm) เซลล์ไข่ (Egg Cell) และรวมถึงโครงสร้างอื่นๆ ที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกันซึ่งจะพบในพืช
 2. ยีน (Gene) หมายถึง หน่วยควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งอยู่เป็นคู่และจะถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูก โดยในทางพันธุศาสตร์ได้มีการกำหนดสัญลักษณ์แทนยีนไว้หลายแบบ แต่ที่นิยมใช้คือการใช้อักษรภาษาอังกฤษเป็นสัญลักษณ์แทนยีน เช่น อักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่แทน ยีนเด่น และตัวพิมพ์เล็กแทน ยีนด้อย
 3. แอลลีล (Allele) หมายถึง ยีนต่างชนิดกันที่เข้าคู่กันได้โดยจะอยู่ในตำแหน่งเดียวกันของโครโมโซมที่เป็นคู่เหมือน (Homologous Chromosome) ซึ่งเป็นยีนที่ควบคุมลักษณะเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ลักษณะต้นสูงของต้นถั่ว
 ถูกควบคุมโดยยีน 2 แอลลีล คือ ยีนที่ควบคุมลักษณะเด่น (T) และยีนที่ควบคุมลักษณะด้อย (t) ดังนั้น ยีน Tจึงเป็นแอลลีลกับยีน t
 4. โฮโมไซกัสยีน (Homozygous Gene) หมายถึง คู่ของยีนที่เหมือนกันอยู่ด้วยกันเพื่อควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิต เช่น TT, tt, IAIA เป็นต้น โฮโมไซกัสยีน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พันธุ์แท้

โฮโมไซกัสยีน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
 4.1 Homozygous Dominance หมายถึง คู่ของยีนเด่นที่เหมือนกันอยู่ด้วยกัน หรือเรียกว่าเป็นพันธุ์แท้ของลักษณะเด่น

4.2 Homozygous Recessive หมายถึง คู่ของยีนด้อยที่เหมือนกันอยู่ด้วยกัน หรือเรียกว่าเป็นพันธุ์แท้ของลักษณะด้อย

5. เฮเทอโรไซกัสยีน (Heterozygous Gene) หมายถึง คู่ของยีนที่ต่างกันอยู่ด้วยกันเพื่อควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิต เช่น Tt, Rr, IAi IAIB เป็นต้น เฮเทอโรไซกัสยีน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พันธุ์ทาง
 6. ลักษณะเด่น (Dominance หรือ Dominant Trait) หมายถึง ลักษณะที่มีโอกาสปรากฏออกมาในรุ่นลูกและรุ่นต่อๆ ไปได้เสมอ ตัวอย่างเช่น ถ้านำสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะตรงข้ามกัน และเป็นพันธุ์แท้ทั้ง 2 ฝ่ายมาผสมพันธุ์กัน เป็นต้นว่า นำถั่วต้นสูงพันธุ์แท้ผสมพันธุ์กับถั่วต้นเตี้ยพันธุ์แท้ ลูกที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะต้นสูงทั้งหมด
 (แต่เป็นพันธุ์ทาง) และถ้านำรุ่นลูกมาผสมพันธุ์กันเอง รุ่นหลานที่เกิดขึ้นก็ยังมีต้นสูงปรากฏอยู่อีก กรณีดังกล่าวจะถือว่า ถั่วต้นสูงเป็นลักษณะเด่น
 7. ลักษณะด้อย (Recessive Trait) หมายถึง ลักษณะที่ปรากฏออกมาเฉพาะบางรุ่น และมีโอกาสปรากฏออกมาได้น้อยกว่า (ลักษณะเด่น)
 8. ฟีโนไทป์ (Phenotype) หมายถึง ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏออกมาให้เห็นได้ด้วยตา เช่น สีของดอกถั่ว สีผิวของคน จำนวนชั้นของหนังตา ลักษณะของเส้นผม หมู่เลือด เป็นต้น
 9. จีโนไทป์ (Genotype) หมายถึง รูปแบบของยีนที่ควบคุมฟีโนไทป์ต่างๆ เช่น จีโนไทป์ที่ควบคุมความยาวของลำต้นถั่วมีได้ 3 แบบ ได้แก่ TT, Tt และ tt__

การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกควบคุมโดยยีนด้อยบนออโตโซม (Autosome)
 และโครโมโซมเพศ (Sex Chromosome)

ตัวอย่าง ลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกควบคุมโดยยีนด้อยบนออโตโซม
 1. อาการผิวเผือก (Albino)
 2. โรคทาลัสซีเมีย (Thalassemia)
 3. โรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์ (Sickle Cell Anemia)

ตัวอย่าง ลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกควบคุมโดยยีนด้อยบนโครโมโซม X

1. โรคฮีโมฟิเลีย (Hemophilia)
 2. โรคตาบอดสี (Color Blindness)
 3. โรคกล้ามเนื้อแขนขาลีบ
 4. โรค G-6-PD

พงศาวลี หรือพันธุประวัติ (Pedigree)
       พงศาวลี คือ แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ต้องการศึกษาของครอบครัวหรือตระกูลหนึ่งๆ ตัวอย่างเช่น

 มิวเทชัน (Mutation)
        มิวเทชัน คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับยีน หรือโครโมโซม ซึ่งจะก่อให้เกิดลักษณะทางพันธุกรรมที่ดีหรือไม่ดีก็ได้
 มิวเทชันที่เกิดขึ้นกับยีน (Gene mutation หรือ DNA mutation) คือ การเปลี่ยนแปลงลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนใน DNA อย่างถาวร ซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชนิด และลำดับของกรดอะมิโนในสายโปรตีนที่จะถูกสร้างขึ้นจากการทำงานของยีน

พันธุวิศวกรรม (Genetic Enginerring)
         พันธุวิศวกรรม เป็นเทคนิคการสร้าง DNA สายผสม หรือรีคอมบิแนนท์ ดีเอ็นเอ (Recombinant DNA)  เพื่อให้ได้สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะตามความต้องการ ซึ่งเทคนิควิธีดังกล่าวจะต้องอาศัยเอนไซม์สำคัญ 2 ชนิด คือ             เอนไซม์ตัดจำเพาะ (Restriction Enzyme) และเอนไซม์ DNA ไลเกส (DNA ligase enzyme)

จีเอ็มโอ (GMOs)
          จีเอ็มโอ หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่ผ่านกระบวนการตัดต่อยีนแล้ว หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มี ดีเอ็นเอ   สายผสม (DNA recombinant) อยู่ภายในเซลล์ ซึ่ง DNA หรือยีนที่ถูกใส่เข้าไปใน DNA ของสิ่งมีชีวิตเจ้าบ้าน(Host) นั้นจะทำให้สิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ มีลักษณะตามที่มนุษย์ต้องการ

การโคลน (Cloning)
          การโคลน หมายถึง การสร้างสิ่งมีชีวิต (ตัวหรือต้น) ใหม่ ซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนสิ่งมีชีวิตต้นแบบทุกประการ

               วิธีการโคลน คือ การนำนิวเคลียสของเซลล์ร่างกาย (Somatic Cell) ใส่เข้าไปในเซลล์ไข่ที่ถูกดูดเอานิวเคลียสออกแล้ว จากนั้นกระตุ้นด้วยไฟฟ้าเพื่อให้แต่ละส่วนหลอมรวมกันแล้วนำไปเพาะเลี้ยงให้พัฒนาเป็นเอ็มบริโอ

ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (DNA fingerprint)
           ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ คือ รูปแบบของแถบดีเอ็นเอ ซึ่งแสดงความแตกต่างของขนาดโมเลกุลดีเอ็นเอในสิ่งมีชีวิตแต่ละตัวหรือแต่ละบุคคลได้ ดังนั้นลายพิมพ์ดีเอ็นเอจึงเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล

ระบบนิเวศ
       ระบบนิเวศ (Ecosystem) คือ หน่วยของความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในแหล่งที่อยู่อาศัยแหล่งใดแหล่งหนึ่ง

คำนิยามศัพท์เกี่ยวกับระบบนิเวศ
  •  ประชากร (Population) คือ กลุ่มสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันที่อาศัยอยู่ในแหล่งเดียวกันในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
  •  กลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community) คือ กลุ่มสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในแหล่งเดียวกัน ณช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
  • แหล่งที่อยู่อาศัย (Habitat) คือ สถานที่ซึ่งสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ชั่วคราวหรือถาวร เพื่อใช้เป็นแหล่งอาหารหลบภัย ผสมพันธุ์ วางไข่ และเลี้ยงตัวอ่อน
  • ชีวบริเวณ (Biosphere) คือ ผลรวมของทุกบริเวณบนโลกที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่


องค์ประกอบของระบบนิเวศ

1. องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต หรือปัจจัยทางกายภาพ (Physical Factors) เช่น แสงสว่าง อุณหภูมิ ความกดดันน้ำ ดิน ลม เป็นต้น
 2. องค์ประกอบที่มีชีวิต หรือ ปัจจัยทางชีวภาพ (Biotic Factors) ได้แก่ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่อยู่ในระบบนิเวศนั้นๆ

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในเชิงอาหาร
 สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศมีความสัมพันธ์เชิงอาหารต่างบทบาทกัน ดังนี้

1. ผู้ผลิต (Producers) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารเองได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
 โดยส่วนใหญ่จะใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และน้ำ (H2O) เป็นวัตถุดิบ

2. ผู้บริโภค (Consumers) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่กินผู้ผลิตหรือผู้บริโภคด้วยกันเป็นอาหาร แบ่งออกเป็น

3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่

2.1 ผู้บริโภคพืช (Herbivores)

2.2 ผู้บริโภค (เนื้อ) สัตว์ (Carnivores)

2.3 ผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ (Omnivores)

3. ผู้ย่อยสลาย (Decomposers) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่ทำหน้าที่หลั่งเอนไซม์ออกมาย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต

เพื่อให้ตนเองได้รับพลังงาน ซึ่งการทำหน้าที่ของผู้ย่อยสลายนั้นถือได้ว่าเป็นขั้นตอนสำคัญในวัฏจักรของสารบางชนิด

การถ่ายทอดพลังงานภายในระบบนิเวศ
 ผู้บริโภคได้รับพลังงานจากการกินผู้ผลิต โดยพลังงานส่วนหนึ่งจะใช้ไปในการประกอบกิจกรรม บางส่วนกลายเป็นกากอาหารขับถ่ายทิ้งไป แต่ส่วนใหญ่จะกลายเป็นพลังงานความร้อนในกระบวนการหายใจ พลังงานที่ผู้บริโภคสามารถนำไปสร้างเนื้อเยื่อของตนเองจึงเหลือเพียง 10% ของพลังงานศักย์ทั้งหมดในสิ่งมีชีวิตที่เป็นอาหารของตน

 รูปแบบของการถ่ายทอดพลังงาน
 1. โซ่อาหาร (Food Chain) คือ ความสัมพันธ์เชิงอาหารซึ่งมีการถ่ายทอดพลังงานเคมีโดยการกินกันเป็นทอดๆ จากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค และจากผู้บริโภคสู่ผู้บริโภคลำดับถัดไป
 2. สายใยอาหาร (Food Web) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างโซ่อาหารตั้งแต่ 2 โซ่อาหารขึ้นไป ทำให้มีโอกาสถ่ายทอดพลังงานได้หลายทิศทาง

การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ (Ecological Succession)

การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ หมายถึง การแทนที่ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตเป็นยุคๆ จากยุคแรกจนถึงยุคสังคมสิ่งมีชีวิตขั้นสุด (Climax Community) เนื่องจากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป

ประเภทของการเปลี่ยนแปลงแทนที่

การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบ่งตามลักษณะการเกิดออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
 1. การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ (Primary Succession) คือ การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตโดยเริ่มต้นจากสถานที่ที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดอาศัยอยู่ก่อน

2. การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิ (Secondary Succession) คือ การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในบริเวณที่เคยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ก่อน แต่ถูกทำลายด้วยปัจจัยบางอย่าง เช่น น้ำท่วมนานๆ ไฟไหม้ป่าเ ป็นต้น

มนุษย์กับสภาวะแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ

สภาวะแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาซึ่งเป็นปกติ แต่ถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงไปมากจนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตในด้านใดด้านหนึ่งกระทั่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต จะเรียกว่า มลภาวะ (Pollution) ในที่นี้จะ
 กล่าวถึงมลภาวะทางอากาศเพราะเป็นปัญหาที่มนุษย์ควรให้ความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน
 มลภาวะทางอากาศ   ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) คือ ปรากฏการณ์ที่แก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศมีปริมาณมากเกินไป ซึ่งแก๊สเหล่านั้นจะดูดซับความร้อนและคายความร้อนคืนสู่โลกจึงทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น

แก๊สเรือนกระจกที่สำคัญ ได้แก่ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แก๊สมีเทน (CH4) ออกไซด์ของไนโตรเจน และไอน้ำ (H2O) แก๊สเหล่านี้มีความสามารถในการเก็บกักความร้อนได้ดี

การทำลายโอโซนในบรรยากาศ
 การลดลงของโอโซน (O3) ในบรรยากาศจะส่งผลให้รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) จากดวงอาทิตย์ส่งผ่านมายังโลกได้มากขึ้น ซึ่งสาร CFC เป็นสาเหตุสำคัญของการทำลายโอโซน โดยสารดังกล่าวจะอยู่ในบรรจุภัณฑ์แบบฉีดพ่น และสารทำความเย็นในผลิตภัณฑ์หลายชนิด



Digestive System

-         จุลินทรีย์  ย่อยอาหารดดยการปล่อย Enzyme ออกมาแล้วดูดกลืนโมเลกุลเข้าสู่ Cell

-         Amoeba นำอาหารเข้าสู่เซลล์ ด้วยวิธีฟาโกไซโตซีส

-         พารามีเซียม  ใช้ Cilia ที่บริเวณ  Oral groove พัดโบกอาหารเข้าสู่เซลล์

-         ฟองน้ำมี Choanocyte  ที่ผนังด้านใน  นำอาหารเข้าสู่เซลล์ด้วยวิธีฟาโกโซโตซีส

-         ไฮดราใช้ Tentacle  จับอาหารเข้าปาก

-         พลานาเรีย  มีปาก และคอหอย (Pharynx) ที่ยื่นออกมาไว้ดูดอาหารเข้าไป

-         ไส้เดือนและสัตว์ขาปล้อง มีทางเดินอาหาร  และอวัยวะที่ช่วยย่อยอาหาร เช่น ต่อมน้ำลาย ต่อม Enzyme

-         สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง  มีอวัยวะที่ซับซ้อน เช่น ฟัน

-         อะโบมาซัมในวัวเป็นกระเพาะอาหารที่แท้จริง

-         Trypsin ,Chymotrysin ,Carboxypeptidase  เป็น Enzyme ย่อย Protein

-         Amailase ,Maltase  ย่อย   Carbohydrate

-         Bile salt ช่วยให้  ไขมัน  เป็น Emulsion  แล้ว  Lipase ย่อยได้  fatty acid  และ  Glycerol


Cellular respiration
  การหายใจแบบใช้ออกซิเจนมี 3 ขั้นตอน

-         Glycolysis  เกิดที่ Cytoplasm  สลายกลูโคส  6 C  ได้  Pyruvic acid  มี 3 C  ใช้ 2 ATP ได้  4 ATP  และ 2 NADH

-         Krebs  cycle  สลาย  acetyl  coenzyme  A  จาก  Pyruvic  acid  ที่ทำปฏิกิริยา กับ  coenzyme  A  ซึ่งมี  2 C  ให้  1  ATP  3 NADH  1 FAD เกิดในชั้นเมทริกซ์

-         Electron  transport  chain     1  NADH  ให้  3 ATP   และ   1  FAD  ให้   2  ATP  เกิดที่บริเวณใกล้กับผนังชั้นด้านใน

การหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน

-         ในยีสต์ทำการหมักแอลกอฮอล์

-         ในเซลล์กล้สมเนื้อ  ทำการหมัก  กรดแลกติก  ส่งผลให้เกิดโรคเหน็บชาถ้าสะสมในปริมาณมาก


การแลกเปลี่ยนก๊าซ

-         ไฮดรา พลานาเรีย  อมีบา  แลกเปลี่ยนแก๊สโดยตรงผ่านเยื่อหุ้มเซลล์

-         ไส้เดือนดิน  แลกเปลี่ยนแก๊สโดยตรงผ่านผิวหนังที่เปียกชื้น

-         แมลง  มี  ท่อลมฝอย  ท่อลม  ช่องหายใจ  ที่ข้างลำตัว

-         แมงมุม  มี  book  lung

-         ปลาแลกเปลี่ยนก๊าซที่น้ำ  ผ่านเหงือก

-         นก  มีหลอดลม  และ  ปอด

-         คนหายใจผ่านเข้าทางจมูก  เข้า  หลอดลม  ผ่าน ขั้วปอด  เข้าสู่หลอดลมฝอย  ซึ่งเชื่อมติดกับถุงลม  ที่อยู่ในปอด  ถุงลมมีหลอดเลือดที่มาจากหัวใจแทรกตัวอยู่เพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซ

-         หายใจเข้า  กระดูกซีกโครงยกสูงขึ้น  และกระบังลมลดต่ำลง

-         การหายใจระบบอัตโนวัติ  มี พอนส์  และเมดัลลา ออพลองกาตา เป็นตัวควบคุม

-         การหายใจภายใต้การควบคุม  โดย  ซีรีบรัล  คอร์เทกซ์    ไฮโพทาลามัส   และ ซีรีเบลลัม

-         โรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจเช่น  โรคปอดบวม  โรคถุงลมโป่งพอง


การขับถ่าย

-         ฟองน้ำ ลำฮดรา  ขับถ่ายของเสียผ่านเซลล์ได้โดยตรง

-         พลานาเลีย  มี  Flame  cell  ทำหน้าที่กำจัดของเสีย

-         ไส้เดือนดินมี  Nephidium  ปล้องละ 1 คู่

-         แมลงมี  Malpighium  tubule  อยู่ระหว่างทางเดินอาหารส่วนกลางและส่วนท้อง

-         สัตว์ที่กระดูกสันหลังจะมีไตช่วยในการขับถ่าย

-         สัตว์น้ำส่วนใหญ่ขับถ่ายในรูป  แอมโมเนีย

-         สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก  ฉลาม  ปลากระดูกแข็งบางนิด ขับถ่ายในรูป  ยูเรีย

-         หอยทาก  นก  แมลง  และสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด  ขับในรูป  กรดยูริก

-         การรักษาน้ำในร่างกาย  เมื่อร่างกายขาดน้ำ ไฮโพทาลามัส  กระตุ้นให้ต่อมใต้สมองส่วนหลัง หลั่ง  ADH  กระตุ้นให้หน่วยไตและท่อดูดน้ำกลับ

-         Aldosterone  หลั่งจากต่อมหมวกไต  ควบคุมสมดุลโซเดียม  โพแทสเซียม  และฟอสเฟต  และรักษาสมดุลกรดเบสในร่างกาย  โดยการขับไฮโดรเจนไอออน

-         Dehydration  ภาวะร่างกายขาดน้ำ

-         Diuretics  เป็นสารขับปัสสาวะ  เช่นสารคาเฟอีน

-         Cystitis  กระเพาะปัสสาวะอักเสบ  เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย  ส่วนมากพบในเพศหญิง

-         Pyelonephritis  ไตและกรวยไตเกิดการอักเสบ

-         เหงื่อเป็นการขับถ่ายทางผิวหนัง  และลดอุณหภูมิ  ควบคุมโดย ไฮโพทาลามัส

-         ค่าความดันเลือดสูงสุดคณะบีบตัว  เรียกว่า Systolic  pressure

-         ค่าความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัว  เรียกว่า  Diastolic  pressure

-         Ischemic  heart  ภาวะหัวใจขาดเลืด  มักมีสาเหตุมาจากโรคเบหวาน  และความดันโลหิตสูง

-         Atherosclerosis  หลอดเลือดตีบและตัน  สาเหตุมาจากการสูบบุหรี่

-         เลือดประกอบด้วย  plasma  55%  และ  blood  corpuscle  45%

-         Blood   corpuscle  ประกอบด้วย  erythrocyte    leukocyte   และ  platelet

-         Erythrocyte  ในระยะ  embryo  สร้างจากตับ  ม้าม  และไขกระดูก  ในทารกจนถึงผู้ใหญ่สร้างจากไขกระดูก  มีอายุ 100-120  วัน  ถูกทำลายที่ตับและม้าม

-         Leukocyte  สร้างและเจริญที่ไขกระดูก  บางชนิดเจริญที่ต่อมไทมัส  มี อายุ 2-3 วัน  แบ่งเป็น 2  กลุ่ม  คือ  granulocytes  ได้แก่  eosinophil  basophil  และ  neutrophil  ส่วน  agranulocytes  ได้แก่  monocyte  และ  lymphpcyte

-         AIDS  เกิดจากไวรัส  HIV เข้าทำลาย  Leukocyte

-         Leukemia  โรคมะเร็งเซลล์เม็ดเลือดขาว

-         หมุ๋เลือดระบบ  ABO  แบ่งตามชนิด  antigen  ใน  plasma  และ  antibody  ที่ผิว  erythrocyte

-         Erythoblastosis  เกี่ยวข้องกับหมู่เลือด  Rh


การเคลื่อนที่

-         Amoebaเคลื่อนที่โดยอาศัยความแตกต่างระหว่างgelกับsol เรียกว่า Amoeboid  movement หรือ Cytoplasmic flow

-          พารามีเซียม  อาศัย cilia  ในการพัดโบก

-         ยูกลีนา อาศัย flagellum ในการเคลื่อนที่

-         แมงกระพรุน เคลื่อนที่โดยอาศัยการหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณขอบกระดิ่ง  ทำให้เกิดแรงดันเคลื่อนตัวไปทิศตรงข้ามกับที่พ่นน้ำ

-         ปลาหมึกอาศัยการหดตัวของกล้ามเนื้อ  พ่นน้ำออกมาทาง  siphon  ที่สามารถเปลี่ยนทิศได้

-         ปลาดาว  อาศัยการหดตัวของ  ampulla ให้  tube  feet  ยืดหดเป็นคลื่น


-         ไส้เดือนดิน  อาศัย