วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ทำไมหัวไม้ขีดถึงติดไฟ

ทำไมหัวไม้ขีดถึงติดไฟ

          หัวไม้ขีดที่ใช้จุดไฟจะเคลือบด้วยโปแตสเซียมคลอเรต เมื่อขีดกับกลัดด้านที่เคลือบฟอสฟอรัสจะทำให้เกิดประกายไฟลุกไหม้ขึ้น เมื่อ โปแตสเซียมคลอเรตได้รับความร้อนก็จะสลายออกซิเจนออกมาช่วยเผาไหม้ซึ่งเป็นคุณสมบัติของออกซิเจนจึงทำให้ไม้ขีดมีเสียงดังฟู่ เนื่องจากมีความร้อนและออกซิเจนพอที่จะจุดไฟติดจึงเกิดไฟลุกติดขึ้นมา ส่วนก้านไม้ขีดที่ทำจากไม้เนื้ออ่อนจะผ่านการแช่น้ำมันสน ผสมพาราฟิน ทำให้หัวไม้ขีดลุกไหม้มาที่ก้านง่ายขึ้นและนานกว่า 

ที่มา http://www.geocities.com/dopagroup/knowscience2.htm  

20 เรื่องวิทยาศาสตร์น่ารู้

20 เรื่องวิทยาศาสตร์น่ารู้

1. เส้นเลือดในร่างกายมนุษย์มีความยาวรวม 62,000 ไมล์ ถ้านำมันมาเรียงต่อกันเป็นทางยาวจะได้ความยาว ถึง 2.5 เท่าของเส้นรอบวงโลก

2. The Great Barrier Reef (แนวปะการังที่ยาวทีสุดในโลกบริเวณออสเตรเลีย) เป็นโครงสร้างสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีความยาวกว่า 2000 กิโลเมตร

3. โอกาสที่โลกจะถูกโจมตีด้วยอุกาบาตขนาดใหญ่ อยู่ที่ 9300 ปีต่อครั้ง

4. ดาวนิวตรอนขนาดเท่าหัวแม่มือมีน้ำหนักกว่า 100 ล้านตัน

5. พายุเฮอริเคนหนึ่งลูกผลิตพลังงานเท่ากับระเบิดขนาด 1 เมกะตันจำนวน 8000 ลูก

6. คาดว่ามีพยาธิปากขอ ซื่งดูดเลือดเป็นอาหารอยู่ในร่างกายมนุษย์โลกเรา 700 ล้านคน

7. Fred Rompelberg คือผู้ขี่จักรยานด้วยความเร็วที่สุดในโลกด้วยความเร็ว 166.94 ไมล์ต่อชั่วโมง

8. มนุษย์เราสามารถคิดค้นแสงเลเซอร์ที่มีความสว่างกว่าแสงอาทิตย์ 1 ล้านเท่า

9. 65% ของผู้ป่วยออทิสติคส์ เป็นคนถนัดซ้าย

10. Finnish pine tree (ต้นสนชนิดหนึ่งในฟินแลนด์) มีความยาวของรากแต่ละต้นรวมแล้วกว่า 30 ไมล์

11. จำนวนเกลือที่อยู่ในน้ำทะเลทั่วโลกเรา สามารถปกคลุมพื้นผิวทวีปทั่วโลกได้หนากว่า 500 ฟุต

12. กลุ่มแก๊สระหว่างหมู่ดาวในราศีธนู มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์นับหมื่นล้านล้านลิตร

13. หมีขั้วโลกสามารถวิ่งด้วยความเร็ว 25 ไมล์ต่อชัวโมง และกระโดดได้สูงกว่า 6 ฟุต

14. มนุษย์และปลาโลมาสืบสายพันธ์เดียวกันมาตั้งแต่ 60 - 65 ล้านปีก่อน

15. กล้อง infared จับภาพหมีขั้วโลกได้ยากมาก เนื่องจากคุณสมบัติของขนของมัน

16. เฉลี่ยแล้วในหนึ่งปี คนเราจะกินสัตว์จำพวกเห็บลิ้นไร โดยไม่ได้ตั้งใจไป 430 ตัวต่อคนต่อปี

17. รากของต้น Rye(ข้าวชนิดหนึ่งใช้หมักสุรา) สามารถแผ่ขยายไปได้ถึง 400 ไมล์

18. อุณหภูมิบนพื้นผิวของดาวพุธสูงกว่า 430 องศาเซลเซียสในเวลากลางวัน แต่ลดลงต่ำกว่า ติดลบ 180 องศาเซลเซียสในเวลากลางคืน

19. ภายใน 24 ชั่วโมง ต้นโอ๊กขนาดใหญ่ขับน้ำ(ในรูปของไอน้ำ)ออกมา 10 - 25 แกลลอน

20. ผีเสื้อรับรู้รสด้วยขาหลังของมัน โดยประสาทการรับรู้ทำงานโดยการสัมผัส ทำให้มันรู้ว่าใบไม้และดอกไม้ที่มันสัมผัส มีรสชาติอย่างไรและกินได้หรือไม่




แหล่งอ้างอิง: http://www.pooyingnaka.com/story/story.php?Category=forwordmail&No=1719

นาซา พบดาวเคราะห์ใหม่ เหมือนโลกมากที่สุด เชื่อมีมนุษย์ต่างดาวอยู่



นาซา พบดาวเคราะห์ใหม่ เหมือนโลกมากที่สุด เชื่อมีมนุษย์ต่างดาวอยู่

นาซาพบดาวเคราะห์ "กลิส 581 จี" สภาพแวดล้อมเหมือนโลก "มากที่สุด" ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า ดวงจันทร์ "ไตตัน" ของดาวเสาร์ มีสภาพเหมาะสม อาจมีมนุษย์ต่างดาวอาศัยอยู่... 

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานเมื่อ 26 พ.ย. ว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์จากองค์การการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) ค้นพบดาวเคราะห์ดวงล่าสุด ชื่อว่า "กลิส 581 จี" มีสภาพแวดล้อมเหมือนโลก "มากที่สุด" เท่าที่เคยค้นพบมาก่อนหน้านี้

ทั้งนี้ กลิส 581 จี อยู่ห่างออกไปราว 123 แส้นล้านไมล์ พบในกลุ่มดาวตราชั่ง ขนาดใหญ่กว่าโลก 3-4 เท่า ใช้เวลาโคจรเป็นเวลา 37 วัน นอกจากนี้ยังอาจมีของเหลว หรือแหล่งน้ำอยู่บนพื้นผิวด้วย การค้นพบครั้งล่าสุดนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้สังเกตการณ์ดาวเคราะห์ดวงดังกล่าวมาร่วม 11 ปีแล้ว และได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารแอสโตรฟิสิคอลด้วย

ขณะที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ยังคงเชื่อว่า "ไตตัน" ดวงจันทร์ของดาวเสาร์ มีสภาพเหมาะสม อาจเอื้อให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้ และอาจมีมนุษย์ต่างดาวอาศัยอยู่.

ขอขอบคุณข้อมูล จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

โลกร้อน คืออะไร ?


         ถึงเวลาที่ต้องหันมามองโลกอย่างใส่ใจ ให้ความสำคัญกับ "สภาวะโลกร้อน" ประเด็นร้อนแรงของวันนี้ ที่มิใช่เพียง"ป้องกัน" แต่กับสภวาะการณ์ที่เกิดขึ้น ต้องเรียกว่า "รับมือ" กับสิ่งที่มนุษย์ได้ทำร้ายโลกลงไป

ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก ครับ (Greenhouse gases) ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศกรองพลังงานจากดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของเรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ครับ
8170


ภาพจาก Global Warming Exhibition of National Academy of Science (US)

แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรม รถยนตร์ หรือการกระทำใดๆที่เผาเชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่นถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปี

ซึ่งคาร์บอนไดออกไซด์ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ เป็นตัวการกักเก็บความร้อนจากแสงอาทิตย์ไว้ไม่ให้คายออกไปสู่บรรยากาศ
ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้โลกของเรามีอุนหภูมิอบอุ่น สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้แต่ปัจจุบัน การเผาผลาญเชื้อเพลงฟอสซิลต่างๆ เช่น ถ่านหิน น้ำมันเชื้อเพลิง และการตัดไม้ทำลายป่า
ซึ่งการกระทำเหล่านี้ส่งผลให้ปริมาณ คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล อันส่งผลกระทบต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภัยธรรมชาติต่างๆเกิดบ่อยขึ้น และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นครับ
8171


- จำนวนพายุ Hurricane Category 4 และ 5 เพิ่มขึ้นสองเท่า ในสามสิบปีที่ผ่านมา
- เชื้อมาลาเรียได้แพร่กระจายไปในที่สูงขึ้น แม้แต่ใน Columbian, Andes ที่สูง 7000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล
- น้ำแข็ง ใน ธารน้ำแข็ง เขตกรีนแลนด์ ละลายเพิ่มมากขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
- สัตว์ต่างๆ อย่างน้อย 279 สปีชี่ส์กำลังตอบสนองต่อ ภาวะโลกร้อน โดยพยายามย้ายถิ่นที่อยู่
8172


หากเรายังเพิกเฉยต่อสิ่งที่เกิดขึ้น รับรองได้เลยว่าจะเกิดเรื่องอย่างนี้แน่

- อัตรา ผู้เสียชีวิต จาก โลกร้อน จะพุ่งไปอยู่ที่ 300000 คนต่อปี ใน 25 ปีต่อจากนี้
- ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 20 ฟุต
- คลื่นความร้อน จะมาบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้น
- ภาวะฝนแล้ง และไฟป่าจะเกิดบ่อยขึ้น
- มหาสมุทรอาร์กติกจะไม่เหลือน้ำแข็ง ภายในฤดูร้อน 2050
- สิ่งมีชีวิตกว่าล้านสปีชี่ส์เสี่ยงที่จะสูญพันธุ์
ค้ดลอกจาก http://www.vcharkarn.com/varticle/18345

ข่าวและปํญหาการศึกษาไทย ที่น่าสนใจ


"ต้องรื้อระบบการผลิตครู"


      สังเกตว่างานปฏิรูปการศึกษาไทยในทศวรรษที่ 2 ในยุคที่มี จาตุรนต์ ฉายแสง ถูกจับวางเป็นเสนาบดีการศึกษา ซึ่งมาพร้อมกับ ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์ อดีตผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้มาอยู่ในตำแหน่งผู้ช่วยเสนาบดี และมี เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รับบทช่วยว่าการฯ เริ่มพูดไปในทิศทางเดียวกัน


เห็นได้จากทุกงานจะมีสูตรสำเร็จในการบรรยายหรือนโยบาย ที่เสนาบดีมอบหมายอธิบายความเพื่อให้หน่วยงาน 5 แท่ง ของ ศธ. ต้องร่วมกันขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะคุณภาพมาตรฐานทางการศึกษาไทยวันนี้ ซึ่งเป็นเรื่องท้าทาย ต้องทำอย่างทุ่มเทแบบไม่มีวันหยุด


จังหวะที่จะเรียกพลังความร่วมมือเพื่อยกคุณภาพการศึกษาไทยได้ คงไม่มีอะไรดีไปกว่า จี้ไปที่ตัวเลขการจัดอันดับการศึกษาไทยในเวทีนานาชาติ และการประเมินผลที่หน่วยงานในประเทศ ออกมาตีแผ่ผสมโรง


แค่นี้ก็ยากที่จะสรรหาคำแก้ต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่กำลังตกเป็นจำเลยใหญ่น่าจะพุ่งเป้าไปที่สถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นโรงงานใหญ่ในการผลิตครู ตามด้วยครูและบุคลากรทางการศึกษา ถือเป็นความสำคัญอันดับต้นๆ ที่ต้องถูกผ่าตัด


จับหางเสียงจากผู้ช่วยเสนาบดีการศึกษา ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ขึ้นบรรยายในงาน 121 ปี การสถาปนาการฝึกหัดครูไทย หัวข้อ อนาคตของการผลิตครูเพื่อเป็นพลังแห่งการพัฒนาชาติ ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สดๆ ร้อนๆ 29 กันยายน นี้เอง


ปัจจุบันเรามีตัวเลขครูที่จะเกษียณอายุใน 15 ปีข้างหน้า ประมาณ 2.8 แสนคน และมีตัวเลขผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพครูอยู่แล้ว 1 ล้านคน ในจำนวนนี้ประกอบวิชาชีพครู 6 แสนคน


ขณะที่ในแต่ละปีฝ่ายผลิตจะมีผลผลิตครูออกมาเพิ่มเฉลี่ยปีละ 5 หมื่นกว่าคน ซึ่งมีความต้องการใช้ครูแทนอัตราเกษียณเต็มที่ ไม่เกินปีละ 2 หมื่นคน แต่ปรากฏว่าบางสถาบันรับนักศึกษาครู 5,600 คน ถามว่าจะเอาคุณภาพมาจากไหน ถึงกับกราบขอร้องให้เลิกรับในลักษณะนี้ เมื่อขอแล้วไม่ฟังเหตุผล สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น คือ จะต้องรื้อระบบการผลิตครูใหม่ทั้งหมดและจะมีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในสายครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ให้สังคมได้รับรู้ถึงคุณภาพความน่าเชื่อถือ


เพราะในชีวิตเกิดมาไม่เคยเห็นผู้บริหารการศึกษาคนใด ในโลก รับคนเข้ามาเรียนเพื่อตกงาน


ที่มา ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 0
4 ตุลาคม พ.ศ. 2556



ความล้มเหลวของการศึกษากับปัญหานานัปการ


ในอดีตเมื่อครั้งกึ่งพุทธกาลหรือปี พ.ศ. 2500 นั้น   การศึกษาไทยเป็นที่ยอมรับของประเทศที่เจริญแล้วในซีกโลกตะวันตก เพราะมีคุณภาพและมีมาตรฐานการศึกษาสูง ไม่ว่าจะเป็นวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษหรือวิชาอื่นๆ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8  (เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปัจจุบัน) สามารถทำงานกับองค์กรระหว่างประเทศหรือบริษัทธุรกิจข้ามชาติขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี  อีกทั้งผู้ที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 แล้วเมื่อไปศึกษาต่อยังต่างประเทศก็มีผลการเรียนดีเป็นที่ยอมรับของสถาบันการศึกษาต่างๆ แต่ต่อมาภายหลังการศึกษาไทยมีคุณภาพลดลงและมีมาตรฐานการศึกษาที่ตกต่ำลงเรื่อยมา
 
ผลการจัดอันดับการศึกษาขององค์กรระหว่างประเทศซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก คือ  World Economics Forum – WEF เมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2556  ได้จัดอันดับการศึกษาของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ปรากฏว่าประเทศไทยถูกจัดอันดับอยู่ในลำดับที่ 142  และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ในประชาคมอาเซียนด้วยกัน ประเทศไทยก็ติดอันดับรั้งท้ายอยู่ในลำดับที่ 8  (ไม่นับรวมลาวและเมียนมาร์) ผลจากการจัดอันดับการศึกษาในครั้งนี้ได้สร้างความสั่นสะเทือนแก่กระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการเป็นกลไกสำคัญของภาครัฐซึ่งมีบทบาทและหน้าที่ในการบริหารจัดการการศึกษาของชาติที่จะต้องมีความรับผิดชอบอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
 
ก่อนหน้านี้สังคมไทยเคยตั้งคำถามถึงคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของชาติกับกระทรวงศึกษาธิการเสมอมา แต่เมื่อได้รับฟังคำชี้แจงจากกระทรวงศึกษาธิการแล้ว ก็ไม่ค่อยสู้จะเข้าใจกระไรนัก เพราะผู้บริหารกระทรวงมักแสดงภูมิความรู้ด้วยการใช้ศัพท์แสงทางวิชาการเป็นภาษาต่างประเทศตามความเชื่อของตนที่ได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดของนักการศึกษาตะวันตกจนคนในสังคมส่วนใหญ่ฟังไม่รู้เรื่อง
 
การปฏิรูปการศึกษาที่ดำเนินการกันมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้วนั้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับและพัฒนาการศึกษาของชาติให้มีคุณภาพและมาตรฐาน แต่ก็ไม่บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย เนื่องจากเป็นเพียงแค่การปฏิรูปในเชิงปริมาณหาใช่การปฏิรูปในเชิงคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร เน้นแต่การก่อสร้างอาคารเรียนต่างๆ ละเลยการพัฒนาคุณภาพครูและกระบวนการการเรียนการสอน ฯลฯ   เป็นที่น่าเสียดายที่ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาของชาติโดยทุ่มงบประมาณแผ่นดินให้กับกระทรวงศึกษาธิการมากกว่าทุกกระทรวงโดยใช้งบประมาณสูงถึง 400,000 ล้านบาทเศษต่อปี  ซึ่งสูงเป็นอันดับหนึ่งในประชาคมอาเซียนและเป็นลำดับต้นๆ ของโลก  เมื่อเปรียบเทียบงบประมาณการลงทุนอย่างมากมายกับการศึกษาของชาติกับผลลัพธ์ที่ได้รับจากการจัดอันดับการศึกษาของ WEF  นับว่าเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า เพราะใช้งบประมาณมากแต่ความสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษามีน้อย ถือได้ว่าเป็นความล้มเหลวของการศึกษาที่ไม่สามารถพัฒนาไปสู่ความเจริญก้าวหน้าเท่าที่ควรจะเป็น กระทรวงศึกษาธิการจึงต้องย้อนกลับไปสำรวจและพิจารณาถึงปัญหาน้อยใหญ่นานัปการอย่างมีเหตุผลและมีความเหมาะสมบนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง
 
ปัญหาหลักซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานที่เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการการเรียนรู้ทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการต้องดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจังและเร่งด่วน คือ การยกเลิกวิธีการสอนภาษาไทยให้เด็กฝึกอ่านเป็นคำๆ แบบภาษาอังกฤษ แต่ต้องหันกลับมาใช้วิธีการเดิมตามรูปแบบการสอนภาษาไทยในอดีตด้วยการฝึกสะกดคำอ่านตามพยัญชนะและสระ รวมถึงการฝึกผันวรรณยุกต์ มิเช่นนั้นเด็กจะอ่านหนังสือไม่ออก หรือแม้ว่าอ่านออกแต่ก็อ่านแบบกระท่อนกระแท่น ส่งผลให้เด็กไม่ชอบอ่านหนังสือเพราะอ่านไม่ออกหรืออ่านได้บ้างไม่ได้บ้าง อย่าลืมว่าภาษาไทยมีความสำคัญเปรียบเสมือนกุญแจในการไขความรู้จากวิชาต่างๆ
 
         หากจะปฏิรูปการศึกษาให้สัมฤทธิ์ผลทางการศึกษาอย่างแท้จริง กระทรวงศึกษาธิการจะต้องแก้ไขตั้งแต่จุดเริ่มต้น คือ จะต้องปฏิรูปกระบวนการการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนและนักเรียนชั้นประถมศึกษาเป็นเบื้องต้นเสียก่อน ส่วนวิชาความรู้อื่นๆ ก็จัดให้มีสาระการเรียนรู้อย่างเหมาะสมและทันต่อสภาวการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การศึกษาของชาติจึงจะมีคุณภาพและมาตรฐานที่จะนำพาคนในชาติไปสู่การเป็นผู้มีการศึกษาในอนาคต
 
 
ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล
 
ที่มาของข่าว : เว็บไซต์หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 5 ตุลาคม 2556






6 เทคนิคเปลี่ยนเด็กประถม สู่เด็กมัธยมคนเก่ง

        โลกแห่งการเรียนรู้ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ การเปลี่ยนแปลงจากชั้นประถมมาสู่ชั้นมัธยมของลูก ๆ จึงมีหลายสิ่งที่น่าสนใจ และน่าปลูกฝังให้เด็กมีความพร้อมสำหรับรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว แถมในชั้นมัธยมนี้ เด็กจะต้องพบกับการสอบแข่งขันที่เข้มข้นกว่าเดิม เพื่อจุดหมายปลายทางในการเรียนในมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาที่ชื่นชอบอีกด้วย .....

          เพื่อให้ลูกประสบความสำเร็จในชีวิตการเรียน สามารถปรับตัวให้เข้ากับระบบการเรียนแบบใหม่ได้รวดเร็ว และมีความสุขตามวัย ในฐานะพ่อแม่อาจพอจะช่วยเตรียมทักษะบางประการให้กับเขา ดังนี้

บอกลูกว่าถึงบริหาร "เวลาของตัวเอง" 

       เมื่อเข้าสู่การเรียนในชั้นมัธยม พร้อม ๆ กับการเปลี่ยนจากวัยเด็กมาสู่วัยรุ่น ลูก ๆ ของคุณพ่อคุณแม่ต้องเรียนรู้ที่จะรับผิดชอบในการบริหารจัดการเวลาของตนเอง โดยอาจแบ่งช่วงเวลาที่เด็กควรจัดสรรให้กับตนเองคร่าว ๆ ดังนี้

- การเรียนในห้อง
- กิจกรรมที่สนใจ
- การทำการบ้าน
- เวลาให้กับครอบครัว เพื่อน สังคมรอบข้าง

ซึ่งโดยปกติแล้ว เด็กวัยรุ่นมักชอบใช้เวลาไปกับเพื่อนฝูง คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ จึงไม่น่าแปลกที่เด็กบางคนลืมหน้าที่ที่ตนเองควรทำไป การสอนให้เขารู้จักบริหารเวลาจึงมีประโยชน์มากสำหรับเด็กในวัยนี้ เพื่อที่เด็กจะได้มองเห็นภาพรวมของชีวิตตนเองได้


อย่ามองข้าม "ทักษะในการเรียนพื้นฐาน" 

เทคนิคเหล่านี้คือสิ่งที่เด็ก ๆ วัยรุ่นควรฝึกให้เป็นนิสัย
- เตรียมตัวสำหรับการเรียนในแต่ละวิชาไปล่วงหน้า และเข้าห้องเรียนให้ตรงเวลา
- ตรวจสอบการบ้าน งานที่ต้องส่งว่าทำสำเร็จ ครบทุกชิ้น และส่งให้ตรงเวลา
- ทบทวนบทเรียนในแต่ละวัน สะสมไปเรื่อย ๆ ดีกว่ามานั่งอ่านทุกอย่างก่อนวันสอบ

น่าเสียดายที่เด็กวัยรุ่นหลายคนมองข้ามจุดนี้ไป ทำให้พวกเขาไม่มีความสุขในห้องเรียน ทำคะแนนได้ไม่ดี ทั้ง ๆ ที่หากเขารู้ว่าเพียงรับผิดชอบสิ่งเหล่านี้ เขาก็สามารถทำได้ง่าย ๆ

ฝึกการจดโน้ตเอาไว้ไม่เสียหลาย 

        ยิ่งเรียนชั้นสูงขึ้นเรื่อย ๆ การเรียนก็จะเริ่มกลายเป็นการจดโน้ตย่อส่วนตัวมากขึ้นทุกที พ่อแม่ที่ทราบในจุดนี้จะช่วยเตรียมทักษะด้านการจดโน้ตย่อให้กับลูกได้ก่อนใคร เด็กก็จะปรับตัวเข้ากับการเรียนในลักษณะนี้ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในช่วงแรกของการฝึก เด็กอาจเคยชินกับการจดทุกอย่างที่คุณครูพูดหน้าชั้นลงไป และทำให้จดไม่ทัน แต่เมื่อฝึกไปนาน ๆ เขาจะเริ่มคัดกรองคำพูดเหล่านั้น และจดเฉพาะสิ่งที่สำคัญลงไปแทน

หากจะมีอุปกรณ์ช่วยจูงใจให้เขาอยากฝึกมากขึ้น ลองเตรียมกระดาษ ปากกา ที่เหมาะสำหรับการจดโน้ตเอาไว้ให้เขาก็จะยิ่งดี


ถึงเวลาต้องตั้งเป้าหมายแล้ว 

           หากลูกไม่เคยตั้งเป้าหมายอะไรมาก่อน ช่วงวัยมัธยมเป็นช่วงเวลาที่ดีที่พ่อแม่ควรกระตุ้นให้เด็กได้ฝึกทักษะข้อนี้ เพราะมันเป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญสำหรับการเรียนในระดับที่สูงขึ้นไป มันจะทำให้เด็กมีแนวทางของตนเอง และก้าวไปเพื่อสิ่งนั้น ตรงข้ามกับเด็กที่ไม่มีจุดมุ่งหมายอะไรเลย จึงใช้ชีวิตไร้แก่นสารไปวัน ๆ โอกาสจะว่อกแว่กออกนอกลู่นอกทางก็จะเป็นไปได้สูง


หมั่นทบทวนบทเรียนเสมอ 

         ปัญหาใหญ่อีกประการหนึ่งของการเรียนในชั้นมัธยมก็คือการจดโน้ตเอาไว้ และทิ้งมันไปจนกว่าจะถึงการสอบ ค่อยเอามาทบทวน ควรสอนให้ลูกทบทวนเรื่องที่เรียนมาให้เป็นนิสัย โดยอาจจะนำสิ่งที่จดไว้มาเขียนใหม่อีกครั้ง (ช่วยให้เด็กซึมซับข้อมูลนั้นเข้าไปโดยไม่รู้ตัว) แถมยังช่วยให้เด็ก ๆ ไม่ต้องอัดข้อมูลจำนวนมากเข้าสมองในวันก่อนสอบด้วย


"จัดการ" ๆๆๆๆ 

      การบริหารจัดการ หากเริ่มได้ตั้งแต่ในช่วงวัยนี้ก็จะมีประโยชน์มาก ฝึกให้ลูกเป็นคนที่มีความรับผิดชอบ จัดการชีวิตของตนเองเสียแต่วันนี้จะดีกว่า พ่อแม่อาจหาตาราง สมุด ปากกา ดินสอ หรืออุปกรณ์เสริมเพิ่มเติมที่จะช่วยให้เขาใช้มันบริหารจัดการชีวิต ถ้าลูกไม่ลืมทำการบ้าน ไม่ลืมว่าวันใดจะมีสอบ ไม่ลืมที่จะแบ่งเวลาอ่านหนังสือ ไม่ว่าอย่างไร เขาก็ไม่มีทางอับจนในชีวิตอย่างแน่นอน

       ทักษะเหล่านี้ ทีมงานเชื่อว่า หากเด็กคนใดฝึกจนเป็นนิสัย ชีวิตในช่วงชั้นมัธยมของเขาก็น่าเป็นเวลาที่เขาได้เติบโตอย่างแท้จริง แถมยังทำให้ชีวิตในช่วงวัยนี้ไม่น่าเบื่อ ไร้สาระอีกด้วย ในฐานะพ่อแม่มาเตรียมทักษะที่ควรมีสำหรับการก้าวสู่วัยผู้ใหญ่ให้ลูกกันเถอะค่ะ

ที่มา  http://www.kroobannok.com/blog/43032

คุณลักษณะของครูที่ดี 10 ประการ


คุณลักษณะของครูที่ดี 10 ประการ

1. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง ความประพฤติ ทั้งทางกายและวาจาและใจ ที่แสดงถึงความเคารพในกฎหมาย ระเบียบประเพณีของสังคม และความประพฤติที่สอดคล้องกับอุดมคติหรือความหวังของตนเอง โดยให้ยึดส่วนรวมสำคัญกว่าส่วนตัว

2. ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม หมายถึง การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เอาเปรียบ หรือคดโกงผู้อื่นหรือส่วนรวม ให้ยึดถือหลักเหตุผล ระเบียบแบบแผนและกฎหมายของสังคมเป็นเกณฑ์

3. ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม

4. ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมและไม่ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่สังคม

5. ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล หมายถึง ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การงาน

6. ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือ ในการอยู่ร่วมกันโดยยึดผลประโยชน์ของสังคมให้มากที่สุด

7. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หมายถึง ความมั่นคงและจิตใจ รู้จักบำรุงรักษากายและจิตใจให้สมบูรณ์ มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง

8. ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น

9. ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมของตนเองและทรัพยากรของชาติ

10. ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคีกัน หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกถึงความแบ่งปัน เกื้อกูลผู้อื่น ในเรื่องของเวลากำลังกายและกำลังทรัพย์ 

ที่มา  http://www.kroobannok.com/blog/32603